สถานการณ์โลกในตอนนี้ ไม่ต้องเป็นผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินก็รู้ได้ทันทีว่าโลกกำลังอยู่ในสภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำ ในนิคมอุตสาหกรรมต่างๆ คนงานถูกเลิกจ้างเป็นจำนวนมากจากสาเหตุของการปิดตัวลงของบริษัทขนาดใหญ่ หรือแม้แต่ธุรกิจ SME ขนาดเล็ก – กลาง ก็ยังไปต่อไม่ไหวในหลากหลายอุตสาหกรรม อย่างไรก็ตามในซอกหลืบของเรื่องแย่ๆ ก็ยังมีเรื่องดีๆ เกิดขึ้นบ้าง ในขณะที่ผู้คนส่วนใหญ่ใช้ชีวิตอยู่แต่ภายในบ้านส่งผลให้ยอดขายของอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซเพิ่มขึ้นถึง 25%
ถึงแม้ตัวเลขต่างๆ จะบ่งชี้ว่าอุตสาหกรรมอีคอมเมิร์ซกำลังอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่เชื่อได้เลยว่าผู้ประกอบการธุรกิจอีคอมเมิร์ซส่วนใหญ่ก็ยังคงมีความระมัดระวังในการใช้จ่ายโดยไม่จำเป็น คำถามที่มักจะวนเวียนอยู่ในหัวผู้ประกอบการเสมอคือ “ควรแบ่งงบการตลาดไว้มากน้อยแค่ไหนถึงจะประหยัดที่สุด” สำหรับในบทความนี้นำ 5 วิธีที่จะช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายจาก Google Ads กัน
1. ใช้ Negative Keyword เพื่อกรองลูกค้า
หลายคนคงทราบกันดีอยู่แล้วว่าการทำโฆษณาผ่าน Google Ads นักการตลาดหรือแบรนด์จะต้องจ่ายค่าบริการเสมอเมื่อมีการคลิกที่เกิดขึ้นจริง (CPC) ยิ่งถ้ามีคนคลิกมากเท่าไหร่ ก็ต้องจ่ายเงินกลับไปเท่านั้นตามผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ฟังดูแล้วก็เป็นเรื่องที่ดูจะสมเหตุสมผลถ้าคนที่คลิกจะเข้ามาเป็นลูกค้าทั้งหมด 100% แต่ในความเป็นจริงมันไม่เป็นเช่นนี้เสมอไป เนื่องจากในแต่ละคลิกอาจจะมีบางคนที่เผลอคลิกเข้ามาแล้วออกไปนั่นก็จะทำให้แบรนด์เสียเงินเพิ่มโดยไม่ได้อะไรกลับมา ดังนั้นเพื่อลดความเสี่ยงและป้องกันไม่ให้คนที่ไม่ได้เข้าข่ายกลุ่มเป้าหมายมาคลิก โดยการเลือกใช้ Negative Keyword ถือเป็นตัวช่วยหนึ่งที่มีประโยชน์ในการช่วยเป็นตัวคัดกรองลูกค้า ให้แบรนด์ไม่เสียเงินกับกลุ่มคนที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมาย เนื่องจาก Negative Keyword เป็นคีย์เวิร์ดที่ผู้สร้างโฆษณาไม่ต้องการที่จะโชว์โฆษณาให้กับคนที่ใช้คำเหล่านี้ในการค้นหาบน Google Search เช่น หากร้านเปิดขายเฉพาะแว่นตากันแดด ก็เพียงเลือกใช้ Negative Keyword ว่า “สายตา” เพื่อหลีกเลี่ยงคนค้นหาแว่นสายตานั่นเอง
2. ลองใช้ Dynamic Search Ads
การลงมือปรับปรุงประสิทธิภาพ Google Ads น่าจะเป็นวิธีที่ดีที่สุดในการลดงบประมาณและเพิ่มประสิทธิภาพ แต่มั่นใจหรือไม่ว่าแบรนด์มีเวลามากพอที่จะมานั่งวิเคราะห์รีพอร์ตต่างๆ คอยมานั่งตาม Conversions หรือแม้กระทั่งทำ A/B Testing กูเกิลจับจุดนี้และเข้าใจเป็นอย่างดีจึงได้เปิดตัวฟีเจอร์ Dynamic Search Ads เพื่อเข้ามาช่วยตอบโจทย์ให้กับนักการตลาดหรือแบรนด์ที่ต้องการประสิทธิภาพที่ดีขึ้นและลดเวลาในการทำงานลง
เพราะการทำโฆษณาแคมเปญของกลุ่มธุรกิจ E-Commerce ขนาดใหญ่ที่มีจำนวนสินค้าค่อนข้างเยอะ อาจจะมีสินค้าจำนวนหลักหลายพันหรือหลายหมื่นชิ้นบนเว็บไซต์ อย่างเช่น Amazon, Shopee หรือ Lazada โดยส่วนมากนิยมการทำโฆษณาแบบ Dynamic Search Ads เนื่องจากเป็นการโฆษณาแบบการค้นหาที่เราไม่จำเป็นต้องใส่ Keyword ใดๆ เข้าไปในแคมเปญ แต่ระบบ AI จะจับคู่คำค้นหาที่เหมาะสมกับหน้า Landing Page บนเว็บไซต์ของเราให้อัตโนมัติ โดยขึ้นอยู่กับโครงสร้างในแต่ละเพจของเว็บไซต์เราว่าเกี่ยวข้องกับ Keyword อะไรบ้าง สำหรับใครที่อยากรู้รายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟีเจอร์ DSA สามารถอ่านได้ที่นี่ อย่างไรก็ตามนักการตลาดจำเป็นที่จะต้องหมั่นคอยตรวจสอบการสร้างโฆษณาแบบ DSA นี้เพื่อให้แน่ใจว่าการทำงานยังปกติไม่มีอะไรผิดพลาด เพราะแม้ว่าการทำงานของเอไอจะมีประสิทธิภาพ แต่หากขาดการควบคุมที่ดีก็อาจทำให้ทุกอย่างพังลงได้ในพริบตาเดียว
3. ปรับคะแนน Quality Score ให้สูงเข้าไว้
สำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดที่มีประสบการณ์การทำ Google Ads มาก่อนคงคุ้นเคยกับ Quality Score กันเป็นอย่างดี แต่สำหรับใครที่ไม่รู้จัก Quality Score คือคะแนนคุณภาพที่ถูกจัดโดย Google เพื่อวัดผลคุณภาพและความสอดคล้องระหว่างคีย์เวิร์ดที่เลือกใช้กับแคมเปญโฆษณา โดยจะมีคะแนนตั้งแต่ 1 – 10 ซึ่งสูตรการคำนวณ Ad Rank ดูได้จากภาพด้านล่าง
อย่างที่เห็นในภาพ ไม่ใช่แค่คะแนนที่สูงจะบ่งบอกถึงคุณภาพของแคมเปญโฆษณาเท่านั้น แต่คะแนน Quality Score ยิ่งสูงก็จะยิ่งช่วยลดต้นทุนค่า CPC (Cost Per Click) ให้กับแคมเปญโฆษณาและยังช่วยให้โฆษณาถูกแสดงผลได้เพิ่มขึ้นอีกด้วย
4. เลิกหว่านแห! เจาะกลุ่มให้ตรงด้วย Custom Intent
ปัญหาเลือกใช้คีย์เวิร์ดแบบหว่านแหยังเป็นเรื่องที่พบเจอได้บ่อยกับนักการตลาดมือใหม่ ซึ่งนั่นถือว่าเป็นสิ่งที่ผิดพลาดอย่างใหญ่หลวง และจะกลายเป็นการเสียเงินไปอย่างเปล่าประโยชน์ การสร้างโฆษณาโดยกำหนดกลุ่มแบบ Broad Match อาจจะดูดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติจริงคงจะดีกว่าหากโฆษณาของเราจะไปแสดงผลให้กับคนที่สนใจสินค้าหรือบริการนั้นจริง นับเป็นเรื่องที่น่ายินดีที่ Google Ads มีฟีเจอร์ Custom Intent Audience ที่จะช่วยให้นักการตลาดหรือแบรนด์สามารถปรับกลุ่ม Audience ให้ตรงกับแคมเปญโฆษณา (สามารถอ่านเพิ่มเติมวิธีการสร้างได้ที่นี่)
5. ลองใช้เทคนิค Retargeting Ads
นักการตลาดมือใหม่ที่ใช้งาน Google Ads ส่วนใหญ่นิยมกำหนด Target Audience โดยอิงตามข้อมูลประเภท Demographic และพฤติกรรมการค้นหาของผู้ใช้เป็นหลัก แต่ยังมีอีกหนึ่งเคล็ดลับที่หลายคนไม่รู้แต่สามารถเพิ่มยอดขายได้ดี นั่นคือการทำ Retargeting Ads โดยจะเป็นการกำหนดเป้าหมายที่เคยโต้ตอบกับสินค้าหรือบริการในทางใดทางหนึ่ง ตามรายงานของ Criteo การทำ Retargeting Ads จะช่วยเพิ่ม Conversion Rate ได้มากถึง 43%
หากรู้สึกเบื่อที่จะต้องมาเสียค่าใช้จ่ายกับการโฆษณาให้กับคนที่อาจจะไม่ได้สนใจสินค้าหรือบริการของแบรนด์จริงและไม่มีโอกาสที่จะสร้าง Conversion ให้กับแคมเปญโฆษณา การลองใช้เทคนิค Retargeting Ads ก็เป็นอีกหนึ่งแนวทางที่จะช่วยให้การสร้างโฆษณาไปเน้นเป้าหมายเฉพาะที่เคยสนใจในแบรนด์มาก่อนแล้วเท่านั้นได้
อ่านมาถึงตรงนี้คงเจอวิธีที่น่าสนใจและลองนำไปปรับใช้กับแคมเปญโฆษณากันดูแล้วใช่ไหม นอกจาก 5 ข้อ ด้านบนแล้วยังมีอีกสิ่งที่สำคัญไม่แพ้กันคืออย่าลืมเข้าไปตั้งค่าการแจ้งเตือนผ่านอีเมลของกูเกิลสำหรับการช่วยเหลือคำแนะนำต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น Campaign Maintenance Alerts, Disapproved Ads และ Policy Alerts เพราะนักการตลาดที่ดีควรที่จะอัปเดตข้อมูลการเปลี่ยนแปลงของกูเกิลให้ไวที่สุดอยู่เสมอ
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com