สำหรับผู้ประกอบการที่กำลังเริ่มต้นสร้างเว็บไซต์เป็นของตัวเองอยู่ คงรู้กันดีว่าแนวทางการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ถูกต้องตามหลัก SEO ถือเป็นหนึ่งในแนวทางการดำเนินธุรกิจในยุคดิจิทัล เพื่อให้อัลกอริทึมของ Search Engine รู้จักเว็บไซต์มากขึ้นและนำขึ้นไปอยู่ในหน้าแรกๆ เป็นการเพิ่ม Organic Traffic ทำให้ผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปสามารถค้นหาเจอก่อน ทำให้สามารถตัดสินใจซื้อสินค้าหรือบริการจากเว็บไซต์นั้นๆ
นอกเหนือจากการองค์ความรู้ในการปรับปรุงเว็บไซต์ให้ตรงตามแนวทาง SEO อย่างการทำ On-Page หรือ Off-Page แล้ว การรู้ว่ากูเกิลจะเข้ามาเก็บข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์เพื่อนำข้อมูลไปจัดอันดับนั้นมีกระบวนการทำอย่างไร แล้วในฐานะของเจ้าของเว็บไซต์จะทำอย่างไรให้กูเกิลหาเว็บไซต์เจอให้เร็วมากขึ้น เพราะนั่นหมายความว่ายิ่งกูเกิลรู้จักเว็บไซต์ของเราเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีโอกาสที่เว็บไซต์เราจะติดอันดับได้ไวมากขึ้นเท่านั้น ฉะนั้นในบทความนี้ Relevant Audience จะขอพาผู้อ่านทุกท่านไปดู 5 วิธีที่จะช่วยให้อัลกอริทึมของกูเกิลสามารถเข้ามาจัดทำหน้าดัชนีและเก็บข้อมูลไปจัดอันดับได้มากขึ้น ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
5 วิธีทำให้กูเกิล Crawling และ Indexing เว็บไซต์มากขึ้น
โดยพื้นฐานแล้วเมื่อมีการสร้างเว็บไซต์ขึ้นมา Search Engine อย่างกูเกิลจะมีการปล่อย Google Bot เข้ามาเก็บข้อมูล (Crawling) เพื่อทำการจัดทำหน้าดัชนี หรือเรียกว่าการจัดทำ Indexing เพื่อเอาไว้ให้ผู้ใช้งานกูเกิลทั่วโลกสามารถค้นหาข้อมูลต่างๆ ได้นั่นเอง (อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ Google Indexing) ในบทความนี้ จะพาทุกคนมาดู 5 วิธีที่จะช่วยทำให้กูเกิลเข้ามารวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปจัดอันดับให้ดีขึ้น ดังนี้
- ปรับปรุงความเร็วในการโหลดหน้าเว็บไซต์
50 พันล้าน และ 1.93 พันล้าน คือตัวเลขของจำนวนหน้าเว็บไซต์และเว็บไซต์ทั้งหมดที่มีอยู่ในปัจจุบัน ดังนั้นแน่นอนว่ากระบวนการของอัลกอริทึมเพื่อจัดทำหน้าดัชนีเว็บไซต์จึงแปรผันตรงกับความเร็วของเว็บไซต์ด้วยเช่นกัน หากเว็บไซต์ของคุณยิ่งช้าไม่ว่าจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตาม นั่นหมายความว่าก็จะเป็นการเพิ่มโอกาสให้การจัดทำหน้าดัชนีช้าลงมากยิ่งขึ้นเท่านั้น
ดังนั้นการประเมิน Page Speed ของเว็บไซต์และปรับปรุงให้ดีอยู่เสมอจึงเป็นสิ่งที่ควรทำเป็นลำดับแรกๆ ไม่ว่าจะเป็นการอัปเกรดเซิร์ฟเวอร์โฮสติ้ง การปรับปรุงไฟล์ต่างๆ ด้วยการบีบอัด ลดขนาดของรูปภาพ (อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่)
- เว็บไซต์ควรมีโครงสร้างของ Internal Link ที่ดี
ประโยชน์ของการมี Internal Link บนเว็บไซต์นั้นมีหลากหลายอย่าง (สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่) โดยเฉพาะอย่างยิ่งการที่เป็นประโยชน์ต่ออัลกอริทึมของกูเกิลในการรวบรวมข้อมูลต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์เพื่อนำไปทำการจัดอันดับ เพราะ Internal Link เปรียบเสมือนกับการสร้างเส้นทางให้อัลกอริทึมของเว็บไซต์สามารถเข้ามาจัดเก็บข้อมูลต่างๆ ได้สะดวกมากขึ้น ข้อสำคัญคือต้องตรวจสอบ Internal Link ต่างๆ บนเว็บไซต์ว่ามีครบถ้วนหรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกรณีที่เพิ่งมีการย้ายโฮสติ้ง หรือกำลังอยู่ในช่วงการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงโครงสร้างบนเว็บไซต์
- ส่ง XML Sitemap ไปยัง Google
หนึ่งในเคล็ดลับสำหรับการช่วยให้อัลกอริทึมของ Search Engine เข้ามาจัดทำหน้าดัชนี คือ การส่ง XML Sitemap ของเว็บไซต์ไปยัง Search Engine เหมาะอย่างยิ่งสำหรับเว็บไซต์ที่มีความซับซ้อนของหน้า Deep Page เพราะการส่ง Sitemap ไปยังเว็บไซต์จะช่วยให้ Search Engine สามารถค้นหาหน้าทั้งหมดได้ง่ายขึ้น สำหรับการส่ง XML Sitemap ของกูเกิลสามารถส่งผ่าน Google Search Console ส่วนหากเป็น Bing ให้ส่งผ่าน Bing Webmaster Tools
- ตรวจสอบ Canonical Tags บนเว็บไซต์
Canonical Tags เป็นวิธีการบอก Search Engine ให้รู้ว่า URL ที่ถูกกำกับภายใต้แท็กนี้คือหน้าหลักของเว็บไซต์ เพื่อเป็นการป้องกันการจัดทำหน้าดัชนีที่ผิดพลาดของอัลกอริทึม แถมยังเป็นการป้องกันปัญหา Duplicated Content ที่อาจเกิดจากการที่เว็บไซต์เรามีหน้าที่คล้ายกันหลายหน้าอีกด้วย
ดังนั้นการตรวจสอบ Canonical Tags ให้ถูกต้องอยู่เสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญที่จะขาดไปไม่ได้ อาจจะเริ่มจากการเช็กผ่าน Tools ต่างๆ เช่น Moz Bar หรือ URL Inspection เพื่อให้แน่ใจว่าหน้าเว็บไซต์จะได้รับการจัดทำดัชนีในทุกหน้าที่ต้องการอย่างถูกต้อง
- แก้ไข Broken Links
สำหรับข้อแนะนำสุดท้ายนี้เป็นอีกหนึ่งเรื่องที่มือใหม่หลายคนชอบละเลย แต่หารู้ไม่ว่าส่งผลอย่างมหาศาลในหลายๆ เรื่อง ทั้งสร้างความหงุดหงิดใจให้กับผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตที่เข้ามายังเว็บไซต์หรือโดยเฉพาะในเรื่องของการจัดทำหน้าดัชนีของอัลกอริทึม นั่นก็คือเรื่องปัญหาของ Broken Links บนเว็บไซต์ สำหรับข้อแนะนำคือควรมีการตรวจสอบอย่างเป็นประจำผ่าน Analytics Tools ต่างๆ เช่น Google Search Console หรือ Screaming Frog จากนั้นให้ดำเนินการตามขั้นตอนไม่ว่าจะเป็นการทำ Redirect หน้าเว็บไซต์ อัปเดตหรือลบออก
ทิ้งท้าย
อ่านมาจนถึงตรงนี้หลายคนคงเตรียมพร้อมกับการปรับปรุงเว็บไซต์เพื่อให้การจัดทำหน้าดัชนีของอัลกอริทึมมีประสิทธิภาพมากขึ้น อาจจะเริ่มต้นด้วยการลองใช้เครื่องมือตัวช่วยต่างๆ อย่าง Google Search Console เพื่อตรวจสอบรายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ อย่างการปรับแก้ Broken Link จากนั้นถึงค่อยๆ ไต่ระดับความเข้มข้นเพิ่มขึ้นไปเรื่อยๆ แต่ที่สำคัญคือต้องทำอย่างเป็นประจำและใส่ใจในทุกรายละเอียดของหน้าเว็บไซต์ รับรองเลยว่าการติดอันดับแรกๆ ในหน้า SERPs จะไม่ใช่เรื่องที่ไกลเกินเอื้อมแน่นอน
Source: Searchenginejournal
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com
เว็บไซต์: www.relevantaudience.com