ใครที่กำลังรู้สึกว่า ”ทำคอนเทนต์แทบตาย แต่ทำไมไม่มีใครสนใจเลยนะ” มาลองอ่านบทความนี้กันดูเผื่อใครที่กำลังหลงทางอยู่จะได้มีไอเดียใหม่ๆ แล้วนำไปปรับใช้ได้ เพราะล่าสุด Meta แชร์บทวิเคราะห์ที่เปรียบเทียบระหว่างเนื้อหาคอนเทนต์ที่ถูกขัดเกลาอย่างเป็นขั้นตอนอย่างเป็นมืออาชีพว่ามีประสิทธิภาพเพียงใดหากถูกนำไปเปรียบเทียบกับคอนเทนต์ประเภท “Everyday Life” ซึ่งเป็นคอนเทนต์แบบเรียบง่ายไม่ต้องใช้พลังงานมากในกระบวนการคิดและผลิตออกมา
กลายเป็นว่าข้อมูลต่างๆ บ่งชี้ว่า “คอนเทนต์แบบเรียบง่าย” หรือ “Lofi-Content (เรียกให้ดูหรูหน่อย)” เป็นประเภทคอนเทนต์ที่สามารถดึงดูดผู้คนได้มากกว่า และช่วยสร้างผลตอบแทนออกมาในรูปแบบของยอดวิวได้ดีกว่า แต่คำถามคือ “เรากำลังอยู่ในยุคที่คนเสพคอนเทนต์ขยะกันมากกว่าคอนเทนต์คุณภาพจริงหรือไม่?” Meta ตั้งข้อสังเกตเรื่องนี้ว่าโลกทัศน์ของผู้คนในการเสพข้อมูลข่าวสารเริ่มเปลี่ยนไปเนื่องจากการใช้งานสมาร์ทโฟนอย่างเต็มรูปแบบ หรือแม้แต่การที่แบรนด์ต่างๆ ต้องการเป็นที่สนใจจากผู้คนด้วยการสร้างคอนเทนต์ที่สามารถแบ่งปันเนื้อหาเหล่านั้นได้อย่างรวดเร็วและบ่อยครั้งขึ้น เนื่องจากกลัวว่าแบรนด์จะถูกลืมเพราะไม่สามารถสร้างพื้นที่บนโลกโซเชียลได้
อันที่จริงผลสำรวจจาก Ypulse พบว่า 79% ของผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียรู้สึก “เบื่อที่จะเห็นภาพสวยๆ งามๆ จากการโฆษณา” สำหรับนักการตลาดที่กำลังหมดมุกในการสร้างคอนเทนต์ ในบทความนี้จะนำ 5 ไอเดียในการสร้างคอนเทนต์ผ่านการวิเคราะห์ของ Meta มาฝากกัน เผื่อใครที่สนใจจะลองนำไปปรับใช้กันตามแต่ละสถานการณ์ดู
คนจริง “เล่าเรื่องจริง”
อย่างที่กล่าวไปข้างต้น ผู้ใช้งานโซเชียลมีเดียในปัจจุบันเริ่มมีความรู้สึกเบื่อที่เห็นแต่ความสมบูรณ์แบบในโฆษณา นั่นเพราะความสมบูรณ์แบบที่เห็นมันเป็นเรื่องที่ไม่ตรงกับความเป็นจริงของชีวิตคนส่วนใหญ่ พูดง่ายๆ คือ คนส่วนมากกำลังมองหาคอนเทนต์ที่สามารถสื่อสารออกมาได้อย่างเป็นธรรมชาติ และต้องให้ความรู้สึกถึงความเป็นกันเอง เรื่องราวที่เล่าผ่านพนักงานของแบรนด์หรือลูกค้าในชีวิตจริงย่อมสามารถสร้างเรื่องราวที่น่าเชื่อถือ ทัชใจ และทำให้เรื่องที่เล่าดูสมจริงได้มากขึ้น
เข้าใจ “ภาษา” ของแต่ละแพลตฟอร์ม
สำหรับภาษาในที่นี้ไม่ได้หมายถึงภาษาตามความหมายที่แท้จริงของหลักภาษาอย่าง ภาษาไทย, ภาษาอังกฤษ ฯลฯ แต่ภาษาในที่นี้คือเซนส์ในการอธิบายถึงพฤติกรรมของผู้ใช้งานของแต่ละแพลตฟอร์ม ตัวอย่าง เช่น บน Twitter อาจเปรียบได้กับการเป็นพื้นที่ของวัยรุ่นและความเร็วในการใช้งาน ฟังก์ชันของทวิตเตอร์คือการที่สามารถพิมพ์ข้อความได้แค่ 200 กว่าตัวอักษรเท่านั้นและแนบรูปได้เพียงไม่กี่รูป จุดเด่นที่เปรียบได้กับกุญแจสำคัญของทวิตเตอร์คือการใช้ # (แฮชแทก) ที่ผู้อ่านสามารถติดตามเนื้อหาคอนเทนต์ได้อย่างรวดเร็ว ทำให้กระแสการเปลี่ยนหน้าไทมไลน์มีลักษณะที่เรียกว่า “มาไวไปไว” การสร้างคอนเทนต์ที่อิงตามกระแสเทรนด์ต่างๆ จึงเป็นสิ่งที่ควรทำหากคิดจะสร้างคอนเทนต์ผ่านงานแอปฯ ทวิตเตอร์
หรือถ้าเป็น TikTok แอปฯแชร์วิดีโอขนาดสั้นยอดนิยมก็เป็นหนึ่งในแพลตฟอร์มโซเชยลมีเดียที่มีความเฉพาะตัวสูงมาก คือการที่จำกัดให้ใช้งานแต่คลิปสั้นที่มีความยาวไม่มาก (ล่าสุดคือปรับให้ยาวสุด 10 นาที) อย่างหนึ่งที่สัมผัสได้จากการใช้งาน TikTok คือ รอยยิ้ม ความสนุก ที่จะได้รับกลับมาทันทีเนื่องจากในแต่ละคลิปที่ถูกแชร์บนแพลตฟอร์มโดยมากจะเป็นวิดีโอที่มีความสนุกหรือดูเพื่อความบันเทิงเป็นหลัก
ลองใช้ Influencer Marketing
ในการวิจัยของ Meta พบว่า 63% ของคนที่มีอายุ 18 – 34 ปี ในปัจจุบันให้ความไว้วางใจต่อ Creator ในการเล่าเรื่องมากกว่าเรื่องเล่าจากแบรนด์โดยตรง พูดง่ายๆ คือวิธีการเล่าเรื่องของ Creator มีวิธีในการบอกเล่าเรื่องราวเกี่ยวกับสินค้าหรือบริการได้ในแบบที่แบรนด์เองไม่สามารถทำได้ แน่นอนว่าหนึ่งในข้อดีนั่นคือการได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้นจากลูกค้า อย่างไรก็ตามแบรนด์ไม่ควรที่จะไปปรับ ลด ดัด แนวทางในการทำคอนเทนต์ของ Creator ควรที่จะปล่อยให้ Creator ได้ทำตามแนวทางที่ตัวเองถนัด เพื่อให้แบรนด์ได้ผลลัพธ์ที่ดีที่สุด
ละลาย Ice-Breaking ด้วยอารมณ์ขัน
ผลการศึกษาพบว่าแบรนด์ที่มีการสร้างอารมณ์ขันในเนื้อหาจะสามารถเข้าถึงผู้ชมทั่วไปได้มากกว่า การผลิตเนื้อหาคอนเทนต์ที่ล้อไปกับกระแสสังคมด้วยอารมณ์ขันย่อมเป็นการสร้างพื้นฐานที่ดีในการช่วยละลายพฤติกรรมระหว่างผู้คนกับแบรนด์ได้ หลายครั้งที่อาจจะเห็นคอนเทนต์พวก meme ล้อเลียนต่างๆ หรือแฮชแท็กบางประเภทที่กลายเป็นไวรัลตลกได้รับความนิยมเป็นจำนวนมาก ดังนั้นแบรนด์ที่ยังไม่เคยลองใช้แนวทางนี้ในการนำเสนอแนะนำว่าควรลองใช้หากอยากสร้างการรับรู้ให้แบรนด์เพิ่มขึ้น เพราะคอนเทนต์ที่สนุกจะถูกแชร์ลงบนโซเชียลได้ง่ายมากขึ้น
อย่างไรก็ตามการสร้างอารมณ์ขันในเนื้อหาจนเกินไปอาจสร้างผลลัพธ์ที่แย่ให้กับแบรนด์ได้ จะเห็นได้ว่านอกจากคอนเทนต์ที่สร้างเสียงหัวเราะให้กับผู้คนแล้วก็ยังมีคอนเทนต์ประเภทที่สร้างความ “อิหยังวะ?” ด้วยเช่นกัน ฉะนั้นก่อนจะสร้างคอนเทนต์ประเภทนี้ก็อย่าลืมที่จะตรวจทานด้วยความรอบคอบก่อนเสมอ
คอนเทนต์แบบ “Behind The Scenes”
เรื่องราว “เบื้องหลัง” เป็นอะไรที่ดึงดูดผู้คนได้ง่าย เพราะความสงสัยของคนไม่มีขีดจำกัด การอยากรู้อยากเห็นเกี่ยวกับไอเดีย สิ่งประดิษฐ์ต่างๆ หรือแม้แต่ของกินของใช้ต่างๆ ว่ามีที่มาอย่างไร คิดได้ยังไง เชื่อได้เลยว่าใครๆ ก็อยากรู้ ข้อแนะนำในการสร้างคอนเทนต์แบบนี้คือ ต้องมีประเด็นเฉียบ! หรือก็คือต้องไม่ทำให้คนที่เห็นรู้สึกว่าเคยเจออะไรแบบนี้มาแล้ว นอกจากนี้การมี Storytelling ที่น่าสนใจก็จะช่วยให้คอนเทนต์ที่ถึงแม้อาจจะเป็นเรื่องเดิมๆ แต่ความสนุกในการเล่าไม่เท่ากันก็จะช่วยให้คนที่พบเห็นสามารถเปิดรับได้ง่ายขึ้น
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com