ปรับปรุงเว็บไซต์เก่าให้กลับมาปังอีกรอบ ด้วยเทคนิค SEO Audit

RA CONTENT MAY 19 C1 Blog Size [1200x628px] (4)

จากการรายงานล่าสุดของ Techradar พบว่า 547,200 คือตัวเลขของ “เว็บไซต์” ที่เกิดขึ้นใหม่ในแต่ละวัน นั่นหมายความว่ากูเกิลจะต้องคอยรวบรวมและนำไปประเมินในการจัดอันดับเว็บไซต์ (Search Engine Ranking) อยู่ตลอดเวลา แน่นอนว่าด้วยข้อมูลที่มีจำนวนมากจำเป็นที่จะต้องมีการจัดลำดับความสำคัญ เว็บไซต์ไหนที่มีการเตรียมความพร้อมในการทำ SEO มาอย่างดี ก็ไม่ใช่เรื่องแปลกที่จะติดอันดับผลการค้นหาในหน้าแรกบน Google Search แบบสบายๆ ในทางกลับกัน เว็บไซต์ไหนที่ไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์กับการทำ SEO หรืออาจจะทำมาบ้างแล้วแต่ยังไม่มีคุณภาพมากพอ กูเกิลก็อาจจะไม่ให้ความสำคัญกับเว็บไซต์นั้นเลยก็ได้

หากต้องการให้เว็บไซต์เจิดจ้าบนหน้า SERP (Search Engine Result Page) ของ Google หนทางเดียวในตอนนี้คือใช้หลักการง่ายๆ ในการปัดฝุ่นเว็บไซต์ให้กลับมาดูใหม่และน่าสนใจอีกครั้งด้วยสิ่งที่เรียกว่า SEO Audit  ที่จะมาตอบโจทย์ให้กับใครที่รู้สึกว่า “ทำเว็บไซต์มาตั้งนาน ทำไมยังสู้เว็บไซต์ของเจ้าใหญ่ๆ ไม่ได้สักที?” หรือ “ทำไมเว็บไซต์ขึ้นหน้าแรกไปแล้ว แต่อยู่ดีๆ ก็ตกลงอย่างรวดเร็ว?” เพราะในการทำ SEO Audit ก็จำเป็นที่จะต้องมีความรู้พื้นฐานในการทำความเข้าใจหลักโครงสร้างต่างๆ ของเว็บไซต์หรือหลักการในการทำ SEO มาแล้วบ้าง ไม่อย่างนั้นก็ควรเลือกผู้เชี่ยวชาญให้เข้ามาปรับปรุงเว็บไซต์ อาจจะเป็นทางเลือกที่ดีกว่า แต่โชคดีที่โลกในตอนนี้ถูกขับเคลื่อนด้วยเทคโนโลยีมากมาย จึงมีเครื่องมือต่างๆ เข้ามาช่วยให้มือใหม่ที่กำลังเริ่มต้นทำ SEO สามารถปรับปรุงประสิทธิภาพทางเทคนิคของเว็บไซต์ให้กลับมาปังใหม่อีกครั้ง ในบทความนี้จะพามือใหม่ทุกท่านไปทบทวนประเด็นสำคัญเกี่ยวกับการทำ SEO Audit และมาดูกันว่ามีเครื่องมือไหนที่จะช่วยตอบโจทย์ได้บ้าง ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย

โครงสร้างเว็บไซต์

ลองเริ่มต้นด้วยการมานั่งทบทวนประเด็นเบื้องต้นต่างๆ ที่สำคัญกับการทำ SEO ให้เว็บไซต์กันหน่อยดีกว่า เริ่มจาก

  • Crawlability Google Bot สามารถเข้ามาตรวจสอบเว็บไซต์ได้ง่ายแค่ไหน?
  • Security – เว็บไซต์มีระบบความปลอดภัยในการเข้าถึงข้อมูลต่างๆ บนเว็บไซต์นั้นๆ แค่ไหน เว็บไซต์มีการใช้ HTTPS แล้วหรือยัง? เพราะความปลอดภัยถือเป็นปัจจัยที่ Google ให้ความสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์ด้วยนั่นเอง
  • On-Page SEO Elements – ได้ทำ On-Page ในหน้าเว็บไซต์ไปบ้างแล้วหรือยัง? อย่างการเช็กคีย์เวิร์ดบน Title Tag, Meta Description เป็นต้น
  • Internal Links – บนเว็บไซต์มีการทำ Internal Links บ้างไหม? ลิงก์ภายในเว็บไซต์ที่จะช่วยเชื่อมต่อไปยังหน้าอื่นๆ ถือเป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่กูเกิลจะมองว่าเว็บไซต์นั้นมีคุณภาพหรือไม่?
  • Headings – ในส่วน Heading ของเว็บไซต์มีการใช้คีย์เวิร์ดอย่างเหมาะสมหรือไม่?
  • Images – ปัญหาการโหลดรูปภาพก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญ ลองปรับขนาดไฟล์รูปภาพหรือบีบอัดไฟล์แล้วหรือยัง?
  • Schema และ Semantic Web – Schema Tags ของเว็บไซต์ตั้งค่าถูกต้องหรือไม่ 
  • Canonicals เว็บไซต์มีการใช้ Canonicals Tags อย่างถูกต้องหรือไม่?
  • SiteMap – เว็บไซต์มีการทำ SiteMap หรือไม่? SiteMap เปรียบเสมือนกับหน้าสารบัญของหนังสือ ช่วยให้ทั้งกูเกิลและผู้ใช้งานเข้ามาดูได้ว่า เว็บไซต์นี้มีหน้าอะไรบ้าง

ประสบการณ์ของผู้ใช้งาน

อย่างที่รู้กันดีว่ากูเกิลให้ความสำคัญกับประสบการณ์ของผู้ใช้งาน (User Experience) มากขึ้น เห็นได้จากการใช้มาตรวัดตัวใหม่อย่าง Core Web Vital เป็นหนึ่งในปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับเว็บไซต์ โดยประสบการณ์ใช้งานในที่นี้อาจจะหมายถึงคำถามง่ายๆ อย่างเว็บไซต์โหลดช้าเกินไปไหม? เว็บไซต์แสดงผลบนมือถือได้ดีหรือไม่? และเว็บไซต์นี้ใช้งานยากเกินไปหรือเปล่า? ฉะนั้นหากต้องการปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์เพื่อให้ตอบโจทย์ประสบการณ์ของผู้ใช้งานอาจต้องพิจารณาในองค์ประกอบต่างๆ ต่อไปนี้ 

เครื่องมือในการทำ SEO Audit

ต่อไปนี้จะเป็นเคล็ดลับเล็กๆ ในการใช้เครื่องมือปรับปรุงประสิทธิภาพทางเทคนิคบนเว็บไซต์ ซึ่งสำหรับใครที่มีประสบการณ์ทำ SEO Audit มาก่อนแล้ว อาจจะใช้เครื่องมือที่ไม่เหมือนกัน แต่สำหรับบทความนี้จะขอเลือกใช้เครื่องมือที่ใช้งานง่าย และเหมาะกับมือใหม่ที่เพิ่งหัดทำ SEO 

Semrush Site Audit 

สำหรับ Semrush เป็นอีกหนึ่งเครื่องมือยอดฮิตของ SEO Specialist หากใครที่ต้องการทำ Site Audit ก็สามารถทำผ่านเครื่องมือนี้ได้ง่ายๆ โดยหลังจากที่สร้าง Project บนโปรแกรมแล้วก็สามารถเรียกใช้ฟังก์ชันนี้ได้ทันที

จากนั้นลองคลิกที่แท็บ “Issues” โปรแกรมจะแสดงรายการปัญหาต่างๆ โดยละเอียด โดยจะมีข้อความแจ้งเตือนข้อผิดพลาดต่างๆ 

หากต้องการดูว่ามีข้อผิดพลาดอะไรเกิดขึ้นบ้าง ก็สามารถคลิกไปที่แต่ละรายการเพื่อดูปัญหานั้นได้ 

Screaming Frog

Screaming Frog เป็นเครื่องมือที่จะช่วยตรวจสอบเว็บไซต์ เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเชิงเทคนิคในการทำ SEO ไม่ว่าเว็บไซต์นั้นจะมีขนาดเล็กหรือใหญ่ การใช้งานก็เข้าใจง่าย ใช้งานไม่ยากเพียงแค่ใส่โดเมนเว็บไซต์ลงไป จากนั้นโปรแกรมจะสแกนเว็บไซต์และลิสต์รายการต่างๆ ขึ้นมา

อย่างเช่น ในรายงานนี้แสดงรายละเอียดเกี่ยวกับ Meta Title สำหรับแต่ละหน้าบนเว็บไซต์ จากนั้นก็สามารถปรับแต่งและแก้ไขให้เว็บไซต์กลับมาติดอันดับได้ทันที

ท้ายที่สุดอย่าลืมที่จะตรวจสอบและปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์อย่างต่อเนื่อง ปัญหาที่ถูกซุกไว้ใต้พรมอาจมีเป็นโหลหรือสองสามร้อยรายการที่จำเป็นต้องถูกแก้ไขอย่างเร่งด่วน ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับโครงสร้างเว็บไซต์ อย่ากังวลเวลาที่เห็นว่าเว็บไซต์ของเราเจอปัญหาถึงสองสามร้อยรายการ ให้นึกภาพตามว่าเมื่อปัญหาต่างๆ ค่อยๆ ถูกแก้ไขไปทีละอย่าง อันดับของเว็บไซต์จะมีผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน

รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience

Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

โทร.: 02-038-5055 

อีเมล: info@relevantaudience.com 

เว็บไซต์: www.relevantaudience.com 

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr

Related Articles

เมนู