ใครที่มีประสบการณ์การทำ SEO คงเคยใช้งาน Google Search Console ในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์กันอยู่แล้ว ที่สำคัญเลยคือเป็นเครื่องมือที่ถูกพัฒนาโดยกูเกิลซึ่งเป็นเจ้าตลาดของ Search Engine ในปัจจุบัน และแน่นอนว่าใช้งานได้ฟรีไม่เสียเงินแม้แต่สตางค์เดียว ถือว่าเป็นเครื่องมือที่เหมาะสำหรับทั้งมือเก่าและมือใหม่
โดยในบทความนี้จะมาแนะนำคู่มือการใช้งาน Google Search Console 2022 ฉบับเข้าใจง่ายที่สุด ที่จะทำให้มือใหม่เข้าใจวิธีการใช้ฟังก์ชันและเมตริกพื้นฐานต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ รับรองว่าใครที่ต้องการปรับปรุง พัฒนาหรือเพิ่มประสิทธิภาพให้กับเว็บไซต์อยู่ในตอนนี้ อ่านจบแล้วสามารถนำไปใช้งานจริงได้ทันที
Google Search Console คืออะไร?
Google Search Console เป็นบริการ Web Service ที่ถูกพัฒนาโดยกูเกิลซึ่งเป็นเครื่องมือที่ช่วยให้ผู้ใช้งานและนักการตลาดสามารถใช้งานเพื่อตรวจสอบความสมบูรณ์ของเว็บไซต์และปรับปรุงประสิทธิภาพโดยรวมที่เกี่ยวข้องกับแนวทางการทำ SEO
โดยคุณสมบัติเด่นๆ ใน Search Console มีดังนี้
- ตรวจสอบการจัดทำ Indexing และรวบรวมข้อมูล โดยอัลกอริทึม
- ช่วยระบุปัญหาที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์
- ดูภาพรวมของประสิทธิภาพการค้นหาของเว็บไซต์
- ตรวจสอบ Internal และ External Links
แม้ Search Console จะไม่ได้เป็น Rank Factor ในการจัดอันดับเว็บไซต์ที่กูเกิลระบุไว้ แต่อย่างไรก็ตาม Search Console ถือเป็นหนึ่งในตัวช่วยในการปรับปรุงประสิทธิภาพของเว็บไซต์ที่ใช้งานได้ง่าย เหมาะสำหรับทั้งมือใหม่และมือเก่า
เริ่มต้นใช้งาน Google Search Console
วิธีการใช้งาน Google Search Console นั้น ในส่วนนี้จะขอข้ามวิธีการสมัครไปก่อน โดยจะมาเริ่มกันที่ ขั้นตอนการเพิ่มเว็บไซต์เข้าไปใน Property การยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์ และอธิบายถึงฟีเจอร์พื้นฐานต่างๆ รวมไปถึงเมตริกต่างๆ ที่ควรรู้
เพิ่มเว็บไซต์ใน Property ใน Search Console
หลังจากสมัครใช้งานเสร็จเรียบร้อยแล้ว ขั้นแรกที่ต้องทำคือการเพิ่มเว็บไซต์ โดยในการเพิ่มเว็บไซต์ Property ใน Search Console สามารถทำได้ 2 แบบ ดังนี้
- Domain Property สำหรับแบบแรกคือการระบุโดเมนของคุณทั้งหมดในครั้งเดียว โดยที่ไม่ต้องกดเพิ่มทีละ URL โดยระบบจะจัดรูปแบบให้โดยอัตโนมัติ
- URL Property เป็นการใส่ URL แบบเฉพาะเจาะจงทีละ URL
จากนั้นให้กด Continue เพื่อดำเนินการต่อในการยืนยันความเป็นเจ้าของเว็บไซต์
การยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ (Verify Site Ownership)
สำหรับการยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์ให้ไปที่ลิงก์นี้ โดยการยืนยันมีด้วยกัน 2 วิธี คือ
- ยืนยันแบบ Domain Property ด้วยวิธีการเพิ่ม DNS Record ไปยัง Website Hosting จากนั้นให้กลับมาที่หน้า Search Console และคลิกปุ่ม Verify เป็นอันเสร็จสิ้น
- ยืนยันแบบ URL Property สำหรับการยืนยันด้วยวิธี URL Property โดยปกติทำได้หลายวิธี ไม่ว่าจะเป็น
- การอัปโหลดไฟล์ HTML
- การเพิ่ม Meta Tag ที่ได้จาก Search Console
- ยืนยันผ่าน Google Analytics Tracking Code
- ยืนยันผ่าน Google Tag Manager
โดยต้องทำกระบวนการซ้ำตามจำนวน URL ที่เพิ่มไว้ใน Property
วิธีการใช้งานเบื้องต้น
หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์แล้ว ก็ถึงเวลาที่จะเริ่มใช้งาน Search Console โดยมาเริ่มต้นด้วยการรู้จักภาพรวมต่างๆ กันก่อนว่ามีอะไรที่มือใหม่ต้องรู้บ้าง
The Performance Report
สำหรับส่วนของ Performance Report จะเป็นหน้าที่แสดงข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้ในการปรับปรุงประสิทธิภาพการค้นหาของเว็บไซต์ โดยจะแบ่งประเภทข้อมูลในการดูออกเป็น 4 อย่าง คือ
- Web
- Image
- Video
- News
โดยสามารถเปลี่ยนการกรองข้อมูลได้โดยคลิกที่ปุ่ม Search Type แถมยังสามารถใช้ฟีเจอร์ Compare เพื่อเปรียบเทียบเมตริกของผลการค้นหาในแต่ละประเภทได้
สำหรับหน้า Performance Report นี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญที่สุด เพราะผู้ใช้งานสามารถเรียกดูข้อมูลต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับหน้าเว็บไซต์ของเราได้ทันที จากนั้นจะนำข้อมูลต่างๆ ไปปรับแต่งหรือประยุกต์ใช้กับการวิเคราะห์คีย์เวิร์ด หรือจะปรับปรุงเนื้อหาอื่นๆ ก็ได้ทั้งนั้น
URL Inspection Tool
URL Inspection Tool หรือเครื่องมือตรวจสอบ URL ซึ่งเป็นอีกหนึ่งฟีเจอร์ที่เป็นประโยชน์สำหรับนักการตลาดมือใหม่ ที่ผู้ใช้งานสามารถใช้เครื่องมือนี้ตรวจสอบหน้าเว็บจาก URL ได้ทันที เพียงแค่ระบุ URL ที่ต้องการตรวจสอบ ระบบก็จะแสดงข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบการจัดทำ Indexing การรองรับการใช้งานบนอุปกรณ์มือถือ และอื่นๆ โดยสรุปได้ดังนี้
- ผู้ใช้งานสามารถส่งคำร้องการจัดทำ Indexing ไปยังกูเกิลได้ในกรณีที่พบว่า กูเกิลยังไม่ได้จัดทำ Indexing
- ดูวันที่อัลกอริทึมของกูเกิลเข้ามารวบรวมข้อมูลเว็บไซต์
- ตรวจสอบการทำ Breadcrumbs
- ตรวจสอบการรองรับการใช้งานเว็บไซต์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
Index Coverage Report
ใครที่มีประสบการณ์การทำ SEO คงผ่านการใช้งานกันมาบ้าง สำหรับหน้า Index Coverage Report ซึ่งจะแสดงรายละเอียดต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานะของการจัดทำ Index ของหน้าเว็บไซต์ ว่ามีสถานะเป็นอย่างไร เพื่อให้ผู้ใช้งานทราบว่ามีปัญหาอะไรที่เกิดขึ้นกับเว็บไซต์ จะได้ตรวจสอบและแก้ไขได้อย่างทันท่วงที โดยมีรายละเอียดดังนี้
- Error หมวดหมู่ Error จะถูกจัดไว้สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ไม่สามารถจัดทำ Indexing ได้
- Valid with Warnings หมวดหมู่นี้จะถูกจัดไว้สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่สามารถจัดทำ Indexing ได้ แต่อาจมีปัญหาบางอย่างที่ควรแก้ไข
- Valid หมวดหมู่นี้จะถูกจัดไว้สำหรับหน้าเว็บไซต์ที่ผ่านการจัดทำ Indexing อย่างสมบูรณ์
- Excluded หมวดหมู่นี้จะเป็นหน้าเว็บไซต์ที่ถูก Exclude ออกจากการจัดทำ Indexing (ถือว่ายังไม่ถูกจัดทำ Indexing เช่นกัน)
สำหรับใครที่อยากทำความเข้าใจกับฟังก์ชัน Index Coverage Report ให้มากขึ้นสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความนี้
ตัวชี้วัด (Metric)
สำหรับหน้า Performance Report จะมีเมตริกพื้นฐานที่นักการตลาดมือใหม่ต้องรู้จัก ไม่ว่าจะเป็น
- Impreesions หรือการแสดงผลของจำนวนครั้งที่เว็บไซต์ของคุณปรากฏในผลการค้นหาที่ถูกผู้รับชมทั่วไปเปิดดู (ไม่นับรวมแคมเปญบน Google Ads)
- Clicks สำหรับตัวชี้วัดการคลิก จะเป็นการวัดจำนวนครั้งของการคลิกที่เกิดขึ้นบนเว็บไซต์ (ไม่นับรวมแคมเปญบน Google Ads)
- Average CTR หรืออัตราการคลิก โดยมีการคำนวณจาก จำนวน Clicks / จำนวนการแสดงผล × 100 โดยจะมีรูปแบบเป็นเปอร์เซ็นต์
- Average Position หรืออันดับโดยเฉลี่ยของเว็บไซต์
การทำความเข้าใจเมตริกพื้นฐานเหล่านี้เปรียบได้กับการมีกระจกสะท้อนเว็บไซต์ว่าตอนนี้ประสิทธิภาพของเว็บไซต์เป็นอย่างไร แล้วมีอะไรที่ควรแก้ไขบ้าง
สรุปได้ว่า Search Console เป็นหนึ่งใน Tools ที่ถูกพัฒนาโดยกูเกิลและปล่อยให้ใช้งานได้ฟรี โดยนับว่าเป็นเครื่องมือพื้นฐานที่เหมาะสำหรับผู้ใช้งานทุกระดับสำหรับการทำ SEO ไม่ว่าจะเป็นการดูภาพรวมต่างๆ ตรวจสอบปัญหาและแก้ไขปัญหาให้ไวที่สุด เพื่อให้เว็บไซต์มีอันดับที่ดีอย่างที่ตั้งใจไว้นั่นเอง
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com