WordPress Hooks คืออะไร? เพิ่มประสิทธิภาพการทำ SEO ได้อย่างไร?
WordPress hooks คืออะไร? ในวงการเว็บไซต์ พูดได้ว่า WordPress เป็นหนึ่งในระบบ Content Management (CMS) ที่ได้รับความนิยมสูง ซึ่งมี Market Share มากกว่า 60% ทั่วโลก เหตุผลหนึ่งอาจเป็นเพราะจำนวน Plugin แบบไม่เสียค่าใช้จ่ายที่มีให้เลือกใช้งานจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม Plugin เหล่านี้อาจทำให้คะแนน Core Web Vitals ลดลง ดังนั้น WordPress Hooks จึงเข้ามามีบทบาทในการทำ SEO กับเว็บไซต์ที่ใช้ WordPress มากขึ้น Plugin จาก WordPress ส่งผลต่อ SEO อย่างไร? แม้ WordPress จะมี Plugin ฟรีจำนวนมากให้เลือกใช้ อีกทั้งมีคอมมูนิตี้ช่วยสนับสนุน ทั้งนี้การติดตั้ง Plugin ก็มีข้อเสียที่มองข้ามไปไม่ได้ คือ คะแนน Core Web Vitals ที่ลดลง เพราะจำนวน Plugin อาจใส่ CSS
Cookies คืออะไร? จุดจบของ Third-party Cookies
ปัจจุบันมีคนรุ่นใหม่จำนวนไม่น้อยที่หันมาให้ความสนใจกับความเป็นส่วนตัว และความปลอดภัยของตนเองบนโลกออนไลน์ โดยไม่นานมานี้ ยักษ์ใหญ่ด้านเทคโนโลยีอย่างกูเกิล (Google) ได้ออกมาตรการใหม่ เพื่อปกป้องความเป็นส่วนตัวของผู้ใช้งานมากยิ่งขึ้น ส่งผลให้ Third-party Cookies ที่เคยได้รับความนิยมเดินทางมาถึงจุดจบ ในบทความนี้ Relevant Audience จะพามาไขข้อสงสัยว่า Cookies คืออะไร และ Third-party Cookies เดินทางมาถึงจุดจบแล้วจริงหรือไม่? Cookies คืออะไร? คุกกี้ คือ ไฟล์ข้อความ (Text File) ขนาดเล็กที่ได้จากการเชื่อมต่อระหว่างเว็บไซต์นั้นๆ และคอมพิวเตอร์ของผู้ใช้งาน โดยการเรียกเก็บข้อมูลคุกกี้ของแต่ละเว็บไซต์จะมีความแตกต่างกัน ขึ้นอยู่กับจุดประสงค์ของเว็บไซต์ เช่น ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งานเว็บไซต์ จำนวนสินค้าในตะกร้า ภาษาที่เลือก และอื่นๆ ซึ่งการเรียกเก็บคุกกี้เป็นวิธีการที่ได้รับความนิยมมากบนเว็บไซต์ธุรกิจ เนื่องจากข้อมูลของผู้ใช้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อธุรกิจยุคใหม่ Third-party Cookies คืออะไร? เดิมทีหลายเว็บไซต์เลือกใช้งาน Third-party Cookies เนื่องจากสามารถเก็บข้อมูลผู้ใช้งานข้ามเว็บไซต์ได้ ซึ่งช่วยให้กลุ่มธุรกิจได้รับข้อมูลพฤติกรรมเชิงลึกของผู้ใช้งาน อย่างไรก็ตาม ผู้ใช้งานหลายส่วนมองว่า Third-party Cookies ละเมิดความเป็นส่วนตัว ส่งผลให้กูเกิลออกกฎคุ้มครองผู้ใช้งานขึ้นมาใหม่ โดยจำกัดการใช้งาน Third-party Cookies บนเบราว์เซอร์ ปัจจุบันหลายธุรกิจเริ่มนำ Third-party Cookies
การทำ PPC Audit ที่จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดงบโฆษณามากกว่าเดิม!
หนึ่งในปัญหาของเหล่านักการตลาดดิจิทัล คือ การเสียงบประมาณไปกับแคมเปญโฆษณาบน Google Ads เกินความจำเป็น โดยวิธีพื้นฐานที่จะช่วยแก้ปัญหาดังกล่าวได้อย่างมีประสิทธิภาพ คือ การทำ PPC Audit หรือการตรวจสอบ PPC ในบทความนี้ Relevant Audience จะพามารู้จักกับการทำ PPC Audit ที่จะช่วยให้ธุรกิจประหยัดงบโฆษณาบน Google Ads ได้มากกว่าเดิม โฆษณา PPC คืออะไร? ก่อนอื่นขอพาทุกท่านไปรู้จักกับ PPC หรือ Pay-Per-Click ซึ่งเป็นรูปแบบการโฆษณาบน Google Ads ที่ระบบจะเรียกเก็บค่าโฆษณาต่อการคลิกเข้าชมแต่ละครั้ง รู้จักการทำ PPC Audit การทำ PPC Audit คือ การตรวจสอบแคมเปญโฆษณา PPC ซึ่งจะช่วยให้นักการตลาดดิจิทัลพบข้อบกพร่องของแคมเปญ และนำมาปรับปรุง เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ และกำไรจากการลงทุน (ROI หรือ Return of Investment) โดยการทำ PPC Audit มีขั้นตอนดังนี้ 1. ตรวจสอบการใช้ Conversion Tracking
ทำความเข้าใจ Content Marketing คืออะไร? พร้อมเทคนิคนำคอนเทนต์มาใช้ใหม่ให้ปัง
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลข่าวสารท่วมท้น Content Marketing ได้กลายเป็นเครื่องมือสำคัญสำหรับนักการตลาดในการสร้างความโดดเด่นให้กับแบรนด์ แต่ Content Marketing คืออะไรกันแน่? แล้วสามารถช่วยธุรกิจได้อย่างไรบ้าง? ที่สำคัญ จะทำอย่างไรให้ประสบความสำเร็จในระยะยาว? บทความนี้จะพาไปทำความเข้าใจว่า Content Marketing คืออะไร พร้อมเผยเทคนิคการแก้ปัญหาที่นักการตลาดมักเผชิญในการทำ Content Marketing เพื่อให้แบรนด์สามารถใช้กลยุทธ์นี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด Content Marketing คืออะไร? Content Marketing คือ การตลาดที่มุ่งเน้นผ่านการสร้างเนื้อหา เป็นกลยุทธ์ที่สำคัญในการสร้างความสำเร็จทางการตลาด เพื่อดึงดูดผู้บริโภค หรือเพื่อตอบโจทย์วัตถุประสงค์ต่างๆ เช่น สร้างการมีส่วนร่วมและการเปลี่ยนแปลง ให้ความรู้ โน้มน้าว หรือให้ความบันเทิง Content Marketing มีอะไรบ้าง? Content Marketing มีให้เลือกหลายรูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบก็มีจุดเด่นและการตอบโจทย์วัตถุประสงค์ในการทำการตลาดที่แตกต่างกันไป เช่น 1. Blog Post หนึ่งในรูปแบบคอนเทนต์ที่ได้รับความนิยมสูงในปัจจุบัน โดยสามารถให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ สร้างการรับรู้แบรนด์ เพิ่มอันดับการค้นหา รวมถึงช่วยแก้ไขปัญหาของกลุ่มเป้าหมาย ช่วยสร้างการเติบโตของแบรนด์ 2. Infographics รูปแบบเนื้อหาที่นำเสนอข้อมูลในรูปแบบที่เรียบง่าย ดึงดูดสายตา และใช้ข้อความน้อย ช่วยให้ผู้ใช้เข้าใจข้อมูลได้ง่ายขึ้น ถือเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการนำเสนอข้อมูลที่ซับซ้อนให้เข้าใจง่าย และสามารถใช้ได้กับหลากหลายกลุ่มเป้าหมาย 3.
เทียบ Cloud กับ Server ต่างกันอย่างไร?
ในยุคดิจิทัลที่ข้อมูลและเทคโนโลยีเป็นหัวใจสำคัญของธุรกิจ การเลือกระบบเซิร์ฟเวอร์ที่เหมาะสมถือเป็นการตัดสินใจที่สำคัญยิ่งสำหรับทุกองค์กร โดย Cloud Server และ Physical Server เป็น 2 ตัวเลือก ที่ได้รับความนิยมอย่างกว้างขวาง ซึ่ง Relevant Audience จะพาไปทำความเข้าใจว่า Cloud กับ Server ต่างกันอย่างไร? พร้อมเปรียบเทียบข้อดี-ข้อเสีย Physical Server คืออะไร? เซิร์ฟเวอร์กายภาพ (Physical Server) คือ อุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ที่ทำหน้าที่ประมวลผล จัดเก็บข้อมูล รันแอปพลิเคชัน และอื่นๆ โดยอาจเลือกใช้เครื่องเซิร์ฟเวอร์กายภาพเพียง 1 เครื่อง หรือมากกว่านั้นเพื่อการทำงานร่วมกันแบบโครงข่าย ขึ้นอยู่กับงบประมาณและความต้องการของแต่ละองค์กร Cloud Server คืออะไร? เซิร์ฟเวอร์คลาวด์ (Cloud Server) คือ การใช้เทคโนโลยีเสมือน (Virtualization) บนเซิร์ฟเวอร์กายภาพหลายเครื่องร่วมกัน เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงทรัพยากรคอมพิวเตอร์ได้ผ่านอินเทอร์เน็ต เทียบ Cloud กับ Server ต่างกันอย่างไร? แม้เซิร์ฟเวอร์คลาวด์ และเซิร์ฟเวอร์กายภาพจะมีประโยชน์ด้านการใช้งานที่คล้ายกัน แต่ทั้ง 2 มีคุณสมบัติ และข้อดี-ข้อเสียแตกต่างกันออกไป 1.