ในปี 2022 นี้ ไปถามใครก็รู้กันว่าตอนนี้เป็นยุคสมัยของ “การทำคอนเทนต์” โดยเฉพาะการตลาดสมัยใหม่แล้วก็คงไม่พ้น “วิดีโอคอนเทนต์” ที่ต้องนำไปลงในแพลตฟอร์มอย่าง YouTube หากเป็นคลิปวิดีที่มีความยาว หรือ TikTok หากเป็นคลิปวดีโอที่มีขนาดสั้น แน่นอนว่าสำหรับใครที่กำลังทำคลิปวิดีโออยู่ในตอนนี้คงรู้กันว่า คอนเทนต์ประเภทวิดีโอขนาดยาวส่วนมากต้องลงทุนลงแรงไปอย่างมหาศาลกว่าจะได้คลิปวิดีโอดีๆ สัก 1 คลิปที่มีคุณภาพมากพอก่อนที่จะนำไปลงในแพลตฟอร์ม YouTube และถึงแม้จะได้ผลงานที่มีคุณภาพออกมา ก็ไม่ได้มีอะไรมาการันตีว่าคลิปวิดีโอนั้นจะได้รับยอดคนดู (Viewers) หรือยอดไลก์ (Likes) ตามที่ใจต้องการ
สำหรับใครที่กำลังรู้สึกท้อ ไม่ต้องเป็นกังวลไปเพราะในบทความนี้เรามีเทคนิคการทำ YouTube SEO มาฝากกัน เชื่อได้เลยว่าถ้าอ่านจบแล้วได้ทดลองทำตาม ไม่ว่าจะยอด Watch Time ของคลิปวิดีโอหรือจะเป็นยอด Viewer (คนดู) รับรองว่าพุ่งปรี๊ดไปดึงดวงจันทร์แน่นอน
YouTube SEO คือ?
อย่างที่รู้กันดีว่าวิดีโอคอนเทนต์ไม่ใช่เรื่องแปลกใหม่อีกต่อไป ใครๆ ก็สามารถอัปโหลดวิดีโอลง YouTube ได้ง่ายๆ ทำให้ปริมาณเนื้อหาวิดีโอคอนเทนต์เพิ่มขึ้นอย่างมากในทุกวัน แล้วสำหรับแบรนด์หรือนักการตลาดจะมีวิธีทำให้คอนเทนต์ที่มีอยู่โดดเด่นอย่างไร?
ใครที่มีประสบการณ์กับการทำ SEO อยู่แล้วก็คงคุ้นเคยกันดี เพราะว่าในการทำ YouTube SEO จริงๆ แล้วก็มีความคล้ายกับการทำ SEO บนเว็บไซต์ทั่วไปอยู่เหมือนกัน เพียงแต่มีข้อแตกต่างที่สำคัญคือกระบวนการปรับแต่งเพื่อให้คลิปวิดีโอถูกเสิร์ชเจอได้ง่ายมากขึ้น จะเป็นการปรับแต่งภายนอกเนื้อหาคอนเทนต์ เช่น Title, Description, ปกวิดีโอ และองค์ประกอบภายนอกอื่นๆ เท่านั้น เพราะการที่เราอัปโหลดคลิปลงไปแล้วแน่นอนว่าเนื้อหาภายในเป็นสิ่งที่ไม่สามารถเข้าไปแก้ไขอะไรได้อีก สำหรับใครที่พร้อมแล้วเตรียมตัวมาฟังเทคนิคขั้นเทพที่จะช่วยให้คลิปวิดีโอของคุณพุ่งทะยานติดอันดับการค้นหาในหน้าแรกกันเลย
ปัจจัยในการจัดอันดับ SEO ของ YouTube
สิ่งสำคัญแรกที่ต้องเข้าใจเกี่ยวกับอัลกอริทึมในการจัดอันดับ YouTube SEO เลย นั่นคือ บน YouTube จะมีการใช้อัลกอริทึมในการจัดอันดับอยู่ 2 ส่วน คือในหน้าโฮมเพจ (Home Page) สำหรับการแนะนำวิดีโอคอนเทนต์ต่างๆ และส่วนของ YouTube Suggestion Search Bar ซึ่งปัจจัยสำคัญที่จะเป็นผลต่ออัลกอริทึมนี้มีด้วยกันหลายส่วน ดังนี้
- Relevance – หรือก็คือความเกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ชื่อ Title, แฮชแท็ก, Description ใต้คลิป, และเนื้อหาของวิดีโอ
- Engagement – สำหรับ Engagement ก็จะนับรวมตั้งแต่ยอดไลก์, ยอด Subscribers, คอมเมนต์ รวมไปถึงการเปิดแจ้งเตือน (Notifications)
- Quality – สำหรับคุณภาพของเนื้อหาอัลกอริทึมจะอิงตามหลักการ E-A-T Content (Expertise, Authoritativeness, and Trustworthiness) เป็นหลัก
- Personalization – ในส่วนนี้จะเป็นการดูข้อมูลส่วนตัวของผู้ใช้งานแต่ละรายและอัลกอริทึมจะพยายามแนะนำคลิปวิดีโอที่เหมาะสมให้
ถึงแม้อัลกอริทึมของกูเกิลและยูทูปจะมีความคล้ายคลึงกันก็จริง แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าจะเหมือนกันไปทั้งหมด แน่นอนว่าอัลกอริทึมของยูทูปในการจัดหมวดหมู่วิดีโอคอนเทนต์จะคำนึงจากผลการโต้ตอบระหว่างวิดีโอกับผู้รับชมเป็นหลัก ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการที่:
- ผู้ใช้งานดูคลิปวิดีโอจนจบหรือไม่?
- ผู้ใช้งานรู้สึกพึงพอใจกับคลิปวิดีโอนี้แล้วหรือไม่?
- มีการแสดงความคิดเห็นหรือไม่?
- มีการกด Subscribe ของแชนแนลนี้หรือไม่?
- มีการเปิดแจ้งเตือนสำหรับแชนแนลนี้หรือไม่?
- มีการดูคลิปวิดีโอของแชนแนลนี้เพิ่มเติมหรือไม่?
ทั้งหมดที่กล่าวมานี้เป็นปัจจัยสำคัญในการจัดอันดับของอัลกอริทึมบน YouTube
Identify Keywords เริ่มต้นจำกัดวงในสิ่งที่ผู้คนอยากดู
ในการทำ SEO การเลือก Keyword เปรียบได้เสมือนกับการตอกตะปูตัวแรกในการสร้างบ้าน บ้านจะแข็งแรงทนทานหรือผุพังในภายหลังก็ขึ้นอยู่กับการตอกตะปูตัวแรกนี้ เพราะการเลือกใช้ Keyword ที่มีคุณภาพ ก็จะช่วยให้วิดีโอถูกเสิร์ชเจอได้ง่ายขึ้น หรือเพิ่มโอกาสที่จะโน้มน้าวให้คนอยู่ดูคลิปวิดีโอให้นานมากขึ้นและกดปุ่มซับให้กับแชนแนลในตอนท้าย
แต่ความยุ่งยากในการทำ Research Keyword ของ YouTube SEO คือการที่ไม่มีเครื่องมือเฉพาะ ฉะนั้นข้อแนะนำคือ
- ใช้ YouTube Search หากนึกอะไรไม่ออกก็ลองเสิร์ชลงไปในช่อง YouTube Search Bar โดยใช้หลักการคิดง่ายๆ ว่าคนที่จะหาคลิปนี้จะเสิร์ชด้วยคำว่าอะไร? แล้วก็ดูรายชื่อที่อัลกอริทึมของ YouTube ลิสต์ขึ้นมา
จากนั้นให้ลองคลิกไปดูรายชื่อคลิปวิดีโอที่น่าสนใจนั้นสามารถเข้าไปดูแชนแนลของคลิปๆ นั้น เพื่อหาดูไอเดียแนวทางในการเลือกใช้ Keyword ได้เช่นกัน
- ใช้ Google Search คล้ายกับวิธีการก่อนหน้า แต่คราวนี้ให้ลองเสิร์ชคำที่ต้องการใช้บนหน้า SERPs เพราะระบบอัลกอริทึมของ Google และ YouTube มีลักษณะที่ใกล้เคียงกัน (บริษัทเครือเดียวกัน) จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หากเสิร์ชข้อความบน Google Search Bar แล้วจะพบว่าจะมีการแนะนำคลิปวิดีโอที่น่าสนใจขึ้นมาด้วยเสมอ
จากวิธีการทั้งสองนี้ แนะนำว่าให้สังเกตทั้ง Video Tags, Thumbnail, Title, Duration ของคลิปวิดีโอที่ติดอันดับผลการค้นหาหน้าแรกนั้นใช้ เพราะสิ่งเหล่านี้ถือเป็นจุดสำคัญที่สามารถนำไปเป็นไอเดียในการปรับแต่ง YouTube SEO บนคลิปวิดีโอของคุณได้ สำหรับในขั้นตอนต่อไปจะเป็นเคล็ดลับในการปรับแต่ง SEO YouTube ให้มีประสิทธิภาพ
เทคนิคปรับ YouTube SEO ให้มีประสิทธิภาพ
อย่างที่กล่าวไปในข้างต้นกับการที่ YouTube ปล่อยให้ผู้สร้างวิดีโอสามารถตั้งชื่อ Title ไปจนถึงการเลือกขนาดของวิดีโอให้เหมาะสมที่สุด อาจเปรียบเสมือนกับการปรับแต่ง On-Page ในการทำ SEO บนเว็บไซต์ ขั้นตอนต่างๆ เหล่านี้สำคัญกับการทำ YouTube SEO มาก เพราะจะเป็นตัวกำหนดได้ทันทีเลยว่าวิดีโอที่อุตส่าห์ลงทุนลงแรงไปอย่างมหาศาลนั้นจะมีคนเจอและคลิกเข้ามาดูหรือเปล่า?
Title
สำหรับชื่อ Title เป็นหนึ่งในสิ่งที่สำคัญที่สุด เพราะเป็นสิ่งที่ผู้คนทั่วไปจะเห็นเมื่อคลิปวิดีโอนั้นปรากฏอยู่ในหน้าต่างๆ YouTube อนุญาตให้ตั้งชื่อคลิปวิดีโอได้มากถึง 100 ตัวอักษร แต่ข้อแนะนำคือไม่ควรตั้งชื่อยาวจนเกินไป จำนวน 50 – 70 ตัวอักษร (รวมช่องว่าง) คือจำนวนที่เหมาะสมที่สุดที่จะสร้างความแตกต่าง หรือพยายามดึงความสนใจของคนดูให้ได้
Description
สำหรับการเขียนรายละเอียด Description สิ่งที่ต้องคำนึงเสมอคือต้องสะท้อนเนื้อหาของคอนเทนต์ออกมาให้ผู้ชมอ่านแล้วเข้าใจ จำไว้ว่าการสร้างคำอธิบายไม่เหมือนกับการเขียนคำโปรยโฆษณา แน่นอนว่าต้องไม่ยาวหรือไม่สั้นจนเกินไป และต้องสามารถดึงดูดให้ผู้ใช้วิดีโอรู้สึกร่วมกันว่านี่คือคลิปวิดีโอที่พวกเขากำลังหาอยู่
ข้อแนะนำในการเขียน Description ให้เหมาะสม มีดังนี้
- เขียนคำอธิบายด้วยจำนวน 300 ตัวอักษร (รวมช่องว่าง) หรือน้อยกว่านั้น
- ควรมีอย่างน้อย 1 ลิงก์ที่จะพาผู้ชมมายังเว็บไซต์ของแบรนด์หรือไปหน้าที่มีเนื้อหาเฉพาะสำหรับคอนเทนต์วิดีโอนั้นๆ ได้
Hashtags
ฟังก์ชันแฮชแท็กเป็นอะไรที่ค่อนข้างใหม่สำหรับอัลกอริทึมของ YouTube แต่มีประโยชน์มากในการจำแนกเนื้อหาให้ผู้ใช้งานสามารถรู้ได้ทันทีว่าเนื้อหาที่กำลังดูอยู่ถูกจัดอยู่ในหมวดอะไร โดยทำได้ไม่ยากโดยสามารถอ้างอิงจาก Research Keyword ที่หามาก็ได้ สำหรับการใส่ Tag เพียงแค่เข้าไปที่ Edit Video >> Detailes >> Show More
Thumbnail
ปกวิดีโอ หรือ Thumbnail เป็นส่วนสำคัญไม่แพ้กับการตั้งชื่อ Title ข้อสำคัญคือการเลือกรูปภาพต้องไม่เป็นภาพที่มีลักษณะ “Click Bait” หรือ รูปปกที่หลอกลวงผู้ใช้ เพราะผลลัพธ์ที่ได้กลับมาจะเป็นเรื่องแย่มากกว่าดี ดังนั้นควรเลือกรูปภาพที่สามารถดึงดูดผู้ใช้งานโดยอาจเลือกจากสาระสำคัญของเนื้อหาคอนเทนต์วิดีโอนั้นๆ ก็ได้
Playlist
การใช้ประโยชน์จาก Playlist เป็นอีกหนึ่งวิธีที่น่าสนใจ เพราะคนดูส่วนใหญ่ชอบอะไรที่มาพร้อมกันเป็นเซต ไม่ขาดตอน จะได้สามารถติดตามเนื้อหานั้นได้อย่างต่อเนื่องทันทีแบบไม่มีสะดุด แถมหากสามารถจัดคอนเทนต์วิดีโอนั้นให้อยู่ในหมวดของ Playlist ได้แล้ว ยังเป็นการการันตีได้ว่าเมื่อดูคลิปที่ 1 จบแล้ว คนดูจะสามารถเห็นคลิปที่ 2 ต่อในทันที การใช้เทคนิค Playlist Video นี้ จะช่วยเพิ่มยอดคนดูให้กับวิดีโออื่นๆ ในแชนแนลได้เพิ่มขึ้นแบบคาดไม่ถึงแน่นอน
Comment
แม้ YouTube จะมีฟังก์ชันการปิดการแสดงความคิดเห็นของผู้ใช้งาน แต่อย่างที่บอกไปว่าอัลกอริทึมของ YouTube จะเน้นหนักไปที่การโต้ตอบระหว่างผู้ชมและคลิปวิดีโอ ฉะนั้นการเลือกปิดไม่ให้ผู้ชมสามารถแสดงความคิดเห็นจึงเป็นสิ่งต้องห้ามหากอยากให้คลิปวิดีโอมียอดคนดูเพิ่มขึ้น
เมื่ออ่านมาถึงตรงนี้ก็หวังว่าบทความนี้ จะช่วยเป็นไกด์ไลน์เบื้องต้นสำหรับมือใหม่ที่กำลังเริ่มทำคอนเทนต์วิดีโอลงในแพลตฟอร์ม YouTube เพื่อที่จะนำไปปรับใช้ให้คลิปวิดีโอมีผลการค้นหาที่ดีขึ้น รับประกันได้เลยว่าถ้าทำตามบทความนี้ผลลัพธ์ที่ได้จะดีขึ้นกว่าเก่าแน่นอน
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com