การทำโฆษณา Google Ads ที่มีระบบ PPC หรือ Pay-Per-Click เป็นหนึ่งในรูปแบบโฆษณาที่ธุรกิจออนไลน์ต่างนิยมใช้ เพราะโมเดลการจ่ายเงินก็ต่อเมื่อมีคนคลิกมาที่โฆษณาเท่านั้น ซึ่งระบบนี้ช่วยให้ธุรกิจสามารถโฆษณาสินค้าหรือบริการของตนบนหน้าผลการค้นหาของ Google และเว็บไซต์ที่เป็น Google Partner
แม้ว่า Google Ads จะเป็นระบบโฆษณาแบบ PPC และเครื่องมือที่ทรงพลัง แต่การใช้งานให้มีประสิทธิภาพสูงสุดนั้นไม่ใช่อาจเรื่องง่าย มีหลายปัจจัยที่ต้องคำนึง ทั้ง Metrics ต่างๆ กลุ่มตลาดเป้าหมาย รวมถึงงบประมาณที่มี และบางครั้งแม้จะ Set Up แคมเปญอย่างดีแล้ว ก็อาจเกิดปัญหาได้เช่นกัน ดังนั้นในวันนี้เราจะมาดู 5 สัญญาณ Red Flag ที่ควรระวังในการทำแคมเปญ Google Ads พร้อมวิธีแก้ไขกัน
5 สัญญาณ Red Flag ในแคมเปญ Google Ads และวิธีแก้ไข
1. อัตรา CTR ที่ต่ำเกินไป
CTR หรือ Click-Through Rate เป็น Metrics หรือตัวชี้วัดสำคัญที่บ่งบอกถึงความเกี่ยวข้องระหว่าง คีย์เวิร์ด โฆษณา และคำค้นหาของผู้ใช้ ซึ่งด้วยกลยุทธ์ Automated Bidding และ Responsive Search Ads (RSAs) ส่งผลให้ อัตรา CTR ปัจจุบันอยู่ที่ประมาณ 5 – 6% ในอุตสาหกรรมส่วนใหญ่ ฉะนั้นหากพบว่าค่า CTR อยู่ต่ำกว่านี้ ให้ระวังไว้เลยว่าแคมเปญโฆษณาของเราอาจกำลังเกิดปัญหา เช่น ความเกี่ยวข้อง Relevancy ที่ต่ำ ทำให้โฆษณามีประสิทธิภาพลดลง
การแก้ไขปัญหา CTR ต่ำสามารถทำได้สองวิธี วิธีแรกคือการตรวจสอบ Assets Reports ซึ่งเป็นรายงานที่แสดงประสิทธิภาพของหัวเรื่องและคำอธิบายในโฆษณา หากพบว่ามีส่วนใดที่มีประสิทธิภาพ “ต่ำ” หรือ “ปานกลาง” ให้พิจารณาเปลี่ยนจะดีกว่า โดยอาจใช้ภาษาที่โดนใจกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น หรือเน้นจุดขายที่แตกต่างจากคู่แข่ง เป็นต้น
อีกหนึ่งวิธี คือ การทบทวน Ad Groups เพราะเมื่อเวลาผ่านไป กลุ่มโฆษณาและคีย์เวิร์ดอาจขยายกว้างขึ้น ทำให้เกิดความไม่สอดคล้องกัน ดังนั้นให้ลองแยกคีย์เวิร์ดที่มีประสิทธิภาพสูงออกมาเป็นกลุ่มใหม่ และปรับแต่งข้อความโฆษณาให้เฉพาะเจาะจงกับแต่ละกลุ่มมากขึ้น เช่น หากคุณมีร้านขายรองเท้า อาจแยกกลุ่มโฆษณาเป็น “รองเท้าวิ่ง” “รองเท้าแฟชั่น” และ “รองเท้าทำงาน” แล้วเขียนข้อความโฆษณาที่เน้นจุดเด่นของรองเท้าแต่ละประเภท
2. การตั้งค่า Campaign โฆษณาที่ไม่สมบูรณ์
กลับมาที่เรื่องพื้นฐานอย่างการตั้งค่าแคมเปญที่ไม่ถูกต้องหรือไม่สมบูรณ์ ซึ่งอาจทำให้โฆษณาไม่มีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะการตั้งค่า Location ที่มีค่า Default คือ “People interested in your targeted locations” ซึ่งในความจริงควรเป็น “People in your targeted locations” แทน รวมไปถึงการตั้งค่าอื่นๆ
สำหรับการทำโฆษณา Google Ads กำหนดเป้าหมายภาษาโดยการจับคู่กับคำค้นหาที่มีคีย์เวิร์ดตรงกัน และ Google เชื่อว่าผู้ใช้เข้าใจภาษาเป้าหมายอย่างน้อยหนึ่งภาษา นั่นหมายความว่า Google Ads จะพยายามแสดงโฆษณาให้กับผู้ใช้ที่น่าจะเข้าใจภาษาที่เราใช้ในโฆษณามากที่สุด แม้ว่าการตั้งค่าภาษาของอุปกรณ์หรือเบราว์เซอร์ของกลุ่มเป้าหมายจะเป็นภาษาอื่นก็ตาม ในทางกลับกัน Microsoft Ads มีวิธีการที่แตกต่างออกไป การตั้งค่าภาษาในแคมเปญของ Microsoft Ads กำหนดภาษาที่จะใช้เมื่อเขียนโฆษณาและควรเป็นภาษาเดียวกันกับที่กลุ่มเป้าหมายใช้
นอกจากนี้ ควรตรวจสอบการตั้งค่าภาษาให้ตรงกับภาษาของกลุ่มเป้าหมายเสมอ โดยเฉพาะธุรกิจที่ทำการตลาดออนไลน์ในหลายประเทศ โดยการสร้างแคมเปญแยกสำหรับแต่ละภาษา และเขียนข้อความโฆษณาในภาษานั้นๆ โดยตรง ไม่ใช่แค่การแปลจากภาษาหลักที่เราใช้ เพราะการใช้ภาษาท้องถิ่นจะช่วยให้โฆษณานั้นๆ ดูเป็นธรรมชาติและน่าเชื่อถือมากขึ้น ส่งผลให้มีโอกาสได้รับอัตรา CTR สูงขึ้น และเพิ่มโอกาสในการเกิด Conversion
3. ขาดการกำหนด Exclusion
ในการรันโฆษณา Google Ads แน่นอนว่า PPC Experts ล้วนกำหนด Exclusion เอาไว้หลายอย่าง ประกอบกับอัปเดตจาก Google ในปัจจุบันที่มีการผลักดัน Broad Match, Performance Max และฟีเจอร์ Automation ต่างๆ นักการตลาดจึงจำเป็นต้องใส่ใจในการกำหนด Exclusion ยิ่งกว่าเดิม เพราะหากขาด Exclusion ที่เหมาะสม อาจทำให้แคมเปญไม่มีประสิทธิภาพมากเท่าที่ควร
โดยเราสามารถกำหนด Exclusion สำคัญ ดังนี้
- เพิ่ม Negative Keywords – ซึ่งเป็นคำที่คุณไม่ต้องการให้โฆษณาของคุณแสดงผล เช่น หากคุณขายรถยนต์มือสอง คุณอาจเพิ่มคำว่า “ใหม่” เป็นคีย์เวิร์ดเชิงลบ เพื่อไม่ให้โฆษณาของคุณแสดงเมื่อคนค้นหา “รถยนต์ใหม่”
- กำหนดกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการยกเว้น (Audience Exclusion) – เช่น หากต้องการโฆษณาผลิตภัณฑ์สำหรับผู้ใหญ่ อาจยกเว้นกลุ่มอายุต่ำกว่า 18 ปี นอกจากนี้ ควรตั้งค่าการยกเว้นเนื้อหา ตำแหน่ง หรือหัวข้อที่ไม่เกี่ยวข้องหรืออาจส่งผลเสียต่อแบรนด์ของคุณ นอกจากนี้
- สร้างรายการ Brand Exclusion – โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากไม่ต้องการให้โฆษณาปรากฏบนเว็บไซต์ของคู่แข่ง
- กำหนดการยกเว้นตำแหน่งที่ตั้งที่ไม่ต้องการให้โฆษณาแสดงผล – หากธุรกิจจำหน่ายสินค้าเฉพาะในประเทศไทย ก็ควรยกเว้นประเทศอื่นๆ ทั้งหมด
การตั้งค่า Exclusion เหล่านี้เมื่อทำโฆษณา Google Ads จะช่วยให้งบประมาณโฆษณาของคุณถูกใช้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยเน้นไปที่กลุ่มเป้าหมายที่มีโอกาสสร้างยอดขายให้กับธุรกิจจริงๆ
4. คะแนนคุณภาพ Quality Score ต่ำ
คะแนน Quality Score เป็นตัวชี้วัดว่าโฆษณาของคุณมีคุณภาพเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับผู้โฆษณารายอื่น โดยมีคะแนนตั้งแต่ 1 (ต่ำสุด) ไปจนถึง 10 (สูงสุด) โดยจะคำนวณจาก Auction Insight เป็นเวลา 90 วันล่าสุด ซึ่งโดยเฉลี่ยโฆษณาที่มี 7 คะแนนขึ้นไปถึงจะถือว่าเป็นโฆษณาที่ “ดี” แต่หากมีคะแนนต่ำกว่า 3 ควรปรับปรุงโฆษณาโดยเร็วที่สุด
การเริ่มต้นแก้ไขปัญหาคะแนนคุณภาพต่ำ ต้องพิจารณาปรับปรุงทั้งสามองค์ประกอบหลักที่ส่งผลต่อคะแนนนี้ ได้แก่ Expected CTR, Ad Rank และ Landing Page Experience เริ่มจากการปรับปรุง Expected CTR หรืออัตราการคลิกที่คาดหวัง ทำได้โดยการปรับแต่งข้อความโฆษณาให้น่าสนใจและตรงประเด็นมากขึ้น ลองใช้คำที่กระตุ้นความสนใจ (Power Words) หรือนำเสนอข้อเสนอที่โดดเด่น เช่น “ลด 50% วันนี้วันเดียว” หรือ “รับประกันคืนเงินใน 30 วัน” เพื่อเพิ่มโอกาสในการได้รับคลิก
ต่อมา ปรับปรุง Ad Rank โดยการทำให้โฆษณาตรงกับ Search Intent ของผู้ใช้มากขึ้น โดยจับคู่คีย์เวิร์ดกับข้อความโฆษณาและหน้าเว็บปลายทางให้สอดคล้องกันมากที่สุด ตัวอย่างเช่น หากคีย์เวิร์ดคือ “รองเท้าวิ่งลดราคา” ข้อความโฆษณาควรพูดถึงรองเท้าวิ่งและการลดราคาโดยตรง และหน้า Landing Page ควรเป็นหน้าที่แสดงรองเท้าวิ่งที่กำลังลดราคาอยู่
สุดท้าย การปรับปรุงประสบการณ์หน้าเว็บ (Landing Page Experience) เป็นสิ่งสำคัญมาก ต้องแน่ใจว่าหน้าเว็บที่ผู้ใช้จะไปถึงหลังจากคลิกโฆษณามีเนื้อหาที่เกี่ยวข้องและเป็นประโยชน์ หน้าเว็บควรโหลดเร็ว ใช้งานง่าย และมีข้อมูลที่ครบถ้วนตรงตามที่โฆษณาเอาไว้ นอกจากนี้ ควรออกแบบให้รองรับการใช้งานบนมือถือด้วย เนื่องจากผู้ใช้จำนวนมากเข้าถึงเว็บไซต์ผ่านอุปกรณ์พกพาอย่างสมาร์ทโฟน และแท็บเล็ต
5. ไม่มีข้อมูล Conversion
เชื่อว่านักการตลาดหลายคนกำหนดการวัดประสิทธิภาพโฆษณา PPC ผ่านจำนวน Conversion ที่เกิดขึ้น ทั้งนี้หากตัวเลข Conversion เป็น 0 ก็สามารถทราบได้ทันทีว่าต้องปรับปรุงแคมเปญโดยเร่งด่วน แต่หากไม่มีข้อมูล Conversion ปรากฏขึ้นเลย ถือเป็นสัญญาณที่น่าเป็นกังวลอย่างมาก
การแก้ไขปัญหาไม่มีข้อมูล Conversion เริ่มต้นได้ง่ายๆ จากการตั้งค่าการติดตาม Conversion ให้ถูกต้องและครบถ้วน เริ่มจากการระบุว่าอะไรคือ Conversion มีค่าสำหรับธุรกิจ เช่น อาจเป็นการซื้อสินค้า การสมัครสมาชิก หรือการกรอกแบบฟอร์มติดต่อ จากนั้นใช้เครื่องมือติดตามการแปลงของ Google Ads เพื่อติดตั้งโค้ดติดตามบนเว็บไซต์
นอกจากการติดตามเป้าหมายหลักแล้ว ควรพิจารณาติดตาม Conversion ที่ “เบา” กว่าด้วย เช่น การดูหน้าสินค้า การเพิ่มสินค้าลงตะกร้า หรือการสมัครรับจดหมายข่าว การติดตามการกระทำเหล่านี้จะช่วยให้ระบบมีข้อมูลมากพอในการปรับแต่งและเรียนรู้พฤติกรรมของผู้ใช้ ซึ่งจะช่วยปรับปรุงประสิทธิภาพของแคมเปญในระยะยาว
การ ทำโฆษณา Google Ad ให้มีประสิทธิภาพนั้นต้องอาศัยการเรียนรู้และปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การระวังสัญญาณทั้ง 5 ข้อนี้ และรู้วิธีแก้ไขจะช่วยให้คุณสามารถปรับปรุงประสิทธิภาพของแคมเปญได้อย่างรวดเร็วและมีประสิทธิผล อย่าลืมว่า ระบบโฆษณาแบบ PPC นั้นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ ดังนั้นการติดตามข่าวสารและอัปเดตความรู้อยู่เสมอเป็นสิ่งสำคัญ ลองนำเทคนิคเหล่านี้ไปใช้กับแคมเปญของคุณ แล้วคุณจะเห็นผลลัพธ์ที่ดีขึ้นอย่างแน่นอน
เกี่ยวกับ Relevant Audience
พวกเรา Relevant Audience คือ Digital Performance Marketing Agency ที่เชี่ยวชาญด้านการทำ SEO และเป็นหนึ่งใน Digital Agency ที่มีบริการด้านการตลาดดิจิทัลครบวงจร เพื่อสนับสนุนธุรกิจให้เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายในเวลา สถานที่ และบนอุปกรณ์ที่เหมาะสม (Right Time, Right Place, Right Device)
บริการของเราครอบคลุมทั้งบริการทำ SEO, Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads ไปจนถึง Influencer Marketing และเรายังเป็น SEO Company ที่เป็น Google Partners อีกด้วย โดยทีมของเราล้วนเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทาง พร้อมให้คำปรึกษาและค้นหาโซลูชันที่ตอบโจทย์ธุรกิจ
ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม ปรึกษาทำการตลาดออนไลน์
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com
เว็บไซต์: www.relevantaudience.com