Title Link หรือก็คือชื่อที่แสดงอยู่ด้านบนสุดของเบราว์เซอร์ เปรียบเสมือนกับเป็น Headline ที่แสดงอยู่ในหน้า SERPs บน Search Engine ต่างๆ Title Link นี้จะปรากฏอยู่บรรทัดบนสุดเพื่อบ่งบอกให้ผู้ที่ค้นหาทราบว่าเนื้อหาในเว็บไซต์นี้คืออะไร ซึ่งจะเป็นตัวช่วยให้ผู้ค้นหาตัดสินใจได้ง่ายมากขึ้นว่าจะคลิกเข้ามายังเว็บไซต์นี้ดีหรือไม่
หลายคนที่เริ่มทำ SEO เคยสงสัยไหมว่า อุตส่าห์นั่งคิดชื่อ Title Link ตั้งนาน แต่ทำไมอยู่ดีๆ กูเกิลก็ดันเปลี่ยนชื่อให้เองซะอย่างนั้น คำถามคือ กูเกิลมีเหตุผลอะไรที่จะต้องมาเปลี่ยน Title Link ให้อัตโนมัติ จากประกาศล่าสุด Google Search Central ได้ออกมาอัปเดตส่วนของหน้า Developer Support ที่จะมาช่วยไขข้อสงสัยให้กับผู้ใช้งานด้วยการให้คำแนะนำ และอธิบายสาเหตุเกี่ยวกับวิธีควบคุม Title Link ที่จะนำไปถูกแสดงในหน้า SERPs ในบทความนี้จะมาช่วยไขความกระจ่างให้กับมือใหม่หัดทำ SEO ทุกท่าน ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
Title Link คืออะไร?
Title Link นี้นับว่ามีประโยชน์ต่อผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปที่กำลังต้องการค้นหาข้อมูลเพื่อประกอบการตัดสินใจในการซื้อสินค้า เนื่องจาก Title Link จะแสดงให้เห็นได้ตั้งแต่การค้นหาในหน้า SERPs นอกจากนั้นยังถือว่ามีประโยชน์ในด้านเทคนิคเพื่อดันอันดับ SEO อีกด้วย เพราะเมื่อพิจารณาความเกี่ยวข้อง (Relevancy) ของหน้าเว็บกับคำค้นหา (Search Query) จะต้องอาศัย Title Tag นี้ในการเรียงลำดับผลการค้นหาให้ตอบโจทย์ตามความสนใจของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตทั่วไปให้มีประสิทธิภาพ
สำหรับใครที่เข้ามาอ่านในหน้า Developer Support บน Google Search Control นี้จะพบว่ากูเกิลมีการอธิบายหรือนิยามความหมายของชื่อที่ปรากฏในหน้า SERPs โดยจำกัดความหมายให้สั้นๆ ว่านี่คือ Title Link โดยผู้พัฒนาเว็บไซต์สามารถเลือกที่จะตั้งขึ้นเองก็ได้ หรือหากปล่อยทิ้งไว้ระบบอัลกอริทึมของกูเกิลจะตั้งให้อัตโนมัติโดยอิงตามความคิดที่ว่า “ทำให้ข้อความ Title เป็นที่สิ่งที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย” อย่างไรก็ตามการสร้าง Title Link ของกูเกิลโดยวิธีอัตโนมัตินี้จะเป็นการที่ระบบของกูเกิลจะพิจารณาจากเนื้อหาและองค์ประกอบโดยรวม โดยใช้แหล่งข้อมูลอ้างอิงต่างๆ ดังต่อไปนี้
- เนื้อหาใน <Title>
- เนื้อหาส่วนของ Main Visual Title หรือ บน Headline
- องค์ประกอบส่วนของ Heading เช่น <h1>, <h2>
- เนื้อหาอื่นๆ ที่มีขนาดใหญ่หรือโดดเด่น
- ข้อความอื่นๆ ในหน้านั้นๆ
- Anchor Text ในหน้านั้นๆ
แต่ถึงอย่างนั้นข้อความที่กูเกิลมักจะดึงมาตั้ง Title โดยส่วนมากจะมีลักษณะภาษาที่แข็งทื่อเหมือนกับคำพูดของหุ่นยนต์ ทำให้ผู้เชี่ยวชาญ SEO หลายคนต่างออกมาเตือนในเรื่องนี้ว่าหากปล่อยให้ Google ตั้งชื่อ Title อาจเป็นผลให้อันดับ SEO ของเว็บไซต์นั้นตกลงอย่างน่าใจหาย
7 สิ่งที่จะส่งผลในการตั้งชื่อ Title Link โดยระบบอัตโนมัติของกูเกิล
ในหน้า Developer Support นี้จะเห็นได้ว่ากูเกิลได้มีข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการปฏิบัติทั้ง 7 ข้อ ที่จะส่งผลในการตั้งชื่อ Title จะมีอะไรบ้าง ไปดูกันเลย
- ตรวจสอบให้แน่ใจว่าทุกหน้าบนเว็บไซต์มี Title Tag ครบถ้วน
- Title Tag ควรกระชับ ได้ใจความ และอธิบายได้ว่าเนื้อหาในหน้าเว็บไซต์นั้นสื่อถึงอะไร โดยพยายามหลีกเลลี่ยงคำอธิบายที่คลุมเครือ หรือแม้แต่ข้อความที่ยาวจนเกินไปซึ่งมักจะถูกตัดทอนออกไปเมื่อปรากฏในหน้า SERPs คำแนะนำคือควรอยู่ที่ 50 – 60 ตัวอักษร
- หลีกเลี่ยงการใส่ Keyword มากจนเกินไปจนกลายเป็น Keyword Stuffing (สแปมคีย์เวิร์ด)
- หลีกเลี่ยงการสแปมชื่อแบรนด์บ่อยมากเกินความจำเป็นจนกูเกิลมองว่าดูซ้ำซาก
- หลีกเลี่ยงการสแปม Boilerplate
- ในบางครั้งระบบของกูเกิลก็ชอบที่จะใช้ส่วนของ Heading อย่าง H1, H2 มาใช้ตั้งชื่อ Title Link
- ใช้ไฟล์ Robots.txt อย่างถูกต้อง จำไว้ว่า Robots.txt ควรใช้ในกรณีป้องกันการเรียก Request ที่มากเกินไปใน URL ไม่ได้ใช้เพื่อกันหน้าเว็บออกจากการ Crawling ของกูเกิล กูเกิลเตือนว่าหากต้องการกันหน้าไม่ให้กูเกิลจัดทำ Indexing คือการใช้คำสั่งแท็ก noindex เท่านั้น มิฉะนั้นอาจลงเอยด้วยการที่ Google จะตั้งชื่อ Title ด้วยการใช้ Anchor Text ของหน้านั้นแทน
เคล็ดลับหากไม่อยากให้กูเกิลมาช่วยตั้งชื่อ Title Link ให้
อย่างที่รู้กันว่าหากตั้งชื่อ Title Link อย่างไม่ระมัดระวังและไม่มีความรอบคอบที่เพียงพอ อาจจะถูกระบบของกูเกิลเปลี่ยนได้ตามใจที่กูเกิลต้องการทันที แต่การเลือกที่จะปล่อยให้กูเกิลตั้ง Title Link ให้อัตโนมัติก็คงเป็นเรื่องที่เสี่ยงเกินไป
ก่อนหน้านี้ทั้งงานวิจัยและบทความจากต่างประเทศต่างออกมาพูดถึงเรื่องนี้กันอย่างแพร่หลายถึงวิธีการที่จะหลีกเลี่ยงการตั้งชื่อ Title โดยอัตโนมัติโดยกูเกิล แต่ล่าสุดในหน้า Developer Support นี้กูเกิลได้ออกมาระบุเช็กลิสต์ที่นักพัฒนาเว็บไซต์ต้องรู้หากไม่อยากให้กูเกิลมาช่วยตั้งชื่อให้แล้ว โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- <title> ที่ปล่อยเว้นว่างเกินครึ่งหนึ่งหรือสั้นจนเกินไป พูดง่ายๆ คือหากมีการปล่อย Title Link ว่างจนเกินไปจะทำให้ระบบของกูเกิลมองว่าไม่สมบูรณ์และอัลกอริทึมของกูเกิลจะทำงานในการตั้งชื่ออัตโนมัติทันที
- <title> ที่ล้าสมัย หรือก็คือการที่การตั้งชื่อ Title Link ในหน้าเดียวกันที่ถูกใช้งานสำหรับปีต่อปีโดยไม่มีการอัปเดตเพื่อแสดงวันที่ล่าสุด ตัวอย่างเช่น หากมีการตั้งว่า “10 อันดับโรงเรียนค่าเทอมแพงในปี 2020” แต่ระบบของกูเกิลตรวจพบความไม่สอดคล้องกันของข้อมูลเนื่องจากในปีนี้เป็นปี 2022 ระบบก็จะเปลี่ยนให้เป็น “10 อันดับโรงเรียนค่าเทอมแพงไปในปี 2022” โดยอัตโนมัติทันที
- <title> ที่ไม่ถูกต้อง สำหรับข้อนี้กูเกิลอธิบายว่าการตั้งชื่อ Title Link ควรมีการอธิบายเนื้อหาให้ถูกต้องว่ากำลังพูดถึงอะไรอยู่ กูเกิลได้เสนอตัวอย่างการตั้งชื่ออย่าง “Giant Stuffed Animals, Teddy Bears, Polar Bears – Site Name” เป็นการตั้งชื่อที่ดูซับซ้อนจนเกินไปและไม่สามารถจับใบความได้ว่าเนื้อหาในหน้าเว็บหมายถึงอะไร ในกรณีควรตั้งชื่อใหม่ว่า “Stuffed Animals – Site Name”
- Headline ไม่ชัด ในที่นี้หมายถึงส่วนประกอบของ Heading พูดง่ายๆ คือ หัวเรื่องหลักควรมีความแตกต่างจากหัวข้ออื่นๆ ทั้งหมดในเนื้อหานั้น ตัวอย่างเช่นหากมี Heading ที่ดูโดดเด่นมากกว่าหนึ่งรายการ และมีความไม่ชัดเจนว่าข้อความใดเป็น Headline หลักของหน้าเว็บไซต์นั้น เมื่อระบบของกูเกิลตรวจพบก็อาจจะเลือกข้อความที่ผิดไปใช้งานได้ วิธีแก้ปัญหาคือพิจารณาให้ดีว่า Headline หลักที่ต้องการนั้นมีความแตกต่างหรือโดดเด่นจากข้อความอื่นมากพอ (เช่นใช้แบบตัวอักษรที่มีขนาดใหญ่ขึ้น เป็นต้น)
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com