เป็นมหากาพย์มาอย่างยาวนานกับดีลการเข้าซื้อแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียยอดฮิตที่มีผู้ใช้งานทั่วโลกอย่าง Twitter โดยมหาเศรษฐีอันดับ 1 ของโลก เจ้าของบริษัท Tesla อย่างอีลอน มัสก์ (Elon Musk) ที่ในที่สุดก็สามารถจับนกสีฟ้าเข้าอุ้งมือตัวเองจนสำเร็จ จากท่าทีเดิมของมัสก์ที่มีการเปลี่ยนใจไปมาจนเกิดการฟ้องร้องขึ้นจากบอร์ดบริหารชุดเดิมของ Twitter ล่าสุดในวันที่ 27 ตุลาคม สำนักข่าวทั่วโลกได้รายงานตรงกันว่า ธนาคารต่างๆ ได้เริ่มส่งเงินเพื่อสนับสนุนการเข้าซื้อกิจการ Twitter ของมัสก์ เรียบร้อยแล้ว เพื่อให้ตรงตามเงื่อนไขที่มัสก์จะต้องดำเนินธุรกรรมต่างๆ ในการเข้าซื้อกิจการภายในวันที่ 28 ตุลาคม
สำหรับใครที่ติดตามข่าวสารในแวดวงแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอาจเกิดความรู้สึกสับสน ว่าที่ผ่านมามีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ในวันนี้ Relevant Audience จะขอพาทุกคนไปย้อนดูเรื่องราวมหากาพย์ตั้งแต่แรกเริ่มในการเข้าซื้อกิจการ Twitter ของอีลอน มัสก์กัน และมาดูกันว่าหลังจากทวิตเตอร์เปลี่ยนมือเจ้าของคนใหม่แล้ว จะเป็นอย่างไรต่อไป ถ้าพร้อมแล้ว ไปดูกันเลย
สรุปมหากาพย์การเข้าซื้อ Twitter
- จุดเริ่มต้นของเรื่องราวทั้งหมดมาจากมหาเศรษฐีคนหนึ่งที่ชื่อว่า อีลอน มัสก์ ที่ชื่นชอบแพลตฟอร์ม Twitter เป็นเอามาก โดยบัญชีส่วนตัวบน Twitter ของอีลอน มัสก์มีผู้ติดตามมากถึง 80 ล้านคน ใครที่เล่นทวิตเตอร์เป็นชีวิตจิตใจคงเคยเห็นดราม่าหรือมีมต่างๆ ของมัสก์กันมาบ้าง เพราะมัสก์ชอบมีการโต้เถียงเรื่องราวในกระแสสังคมต่างๆ ผ่านการทวีต จนทำให้บางครั้ง ก.ล.ต.สหรัฐฯ ถึงขนาดสั่งห้ามมัสก์ไม่ให้เล่นทวิตเตอร์เพื่อลดผลกระทบต่างๆ ที่ตามมา
- มัสก์เคยออกมาพูดอย่างสม่ำเสมอว่าต้องการสนับสนุน “Free Speech” หรือเสรีภาพในการพูดมากขึ้น และต้องการให้ทวิตเตอร์ลดการตรวจสอบเนื้อหาต่างๆ จากการทวีตให้น้อยลง
- จนวันที่ 4 เมษายน 2565 มัสก์ประกาศว่า เขาได้เข้าซื้อหุ้นของทวิตเตอร์ด้วยมูลค่า 2.9 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ คิดเป็น 9.2% ทำให้มัสก์กลายเป็นผู้ถือหุ้นที่ใหญ่ที่สุดในบอร์ดบริหารของทวิตเตอร์ อย่างไรก็ตามเขาปฏิเสธที่จะนั่งเก้าอี้บอร์ดบริหาร
- วันที่ 14 เมษายน 2565 มัสก์ประกาศว่า ได้ยื่นข้อเสนอให้กับทวิตเตอร์ ในการเข้าซื้อหุ้นของบริษัท รวมมูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
- วันที่ 15 เมษายน 2565 บอร์ดบริหาร Twitter ใช้กลยุทธ์ “Poison Pill” คือไม่ให้ใครเป็นเจ้าของหุ้นมากกว่า 15 เปอร์เซ็นต์
- วันที่ 25 เมษายน 2565 ทวิตเตอร์เกิดการเปลี่ยนมือเจ้าของด้วยมูลค่า 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐโดยอีลอน มัสก์
- วันที่ 9 กรกฎาคม 2565 อีลอน มัสก์ออกมาประกาศเปลี่ยนใจที่จะเข้าซื้อกิจการ Twitter โดยให้เหตุผลว่าทวิตเตอร์ฝ่าฝืนข้อตกลงระหว่างกันในการเข้าซื้อกิจการหลายประการ
- วันที่ 12 กรกฎาคม 2565 ทวิตเตอร์ยื่นฟ้องอีลอน มัสก์ ในข้อหาละเมิดข้อตกลงการซื้อแพลตฟอร์ม
- อีลอน มัสก์เปลี่ยนใจเข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์อีกครั้ง พร้อมกับคำสั่งศาลว่าให้ปิดดีลภายในวันที่ 28 ตุลาคม 2565 ไม่อย่างนั้นอาจมีการพิจารณาคดีขึ้นอีกครั้งภายในเดือนพฤศจิกายน
- สำนักข่าวทั่วโลกรายงานตรงกันว่าอีลอน มัสก์ปิดดีลการเข้าซื้อกิจการทวิตเตอร์ได้ทันภายในวันที่ 27 ตุลาคม 2565 มูลค่ารวม 4.4 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และมัสก์พร้อมขึ้นนั่งแท่นผู้บริหารคนใหม่ของ Twitter พร้อมทั้งไล่ CEO, CFO และผู้บริหารที่รับผิดชอบด้านกฎหมาย นโยบาย และความไว้วางใจออกทันที
มัสก์ ปรากฏตัวใน Coffee Bar ของสำนักงานใหญ่ Twitter
จากทวีตรูปภาพของคุณ Walter Isaacson จะเห็นได้ว่าอีลอน มัสก์ได้มาปรากฏตัวใน Coffee Bar ของสำนักงานใหญ่ทวิตเตอร์แล้ว นอกจากนี้สำนักข่าวรอยเตอร์ยังมีการรายงานเพิ่มเติมว่า “มัสก์ได้เดินเข้าไปในสำนักงานใหญ่ของ Twitter ด้วยรอยยิ้มกว้างและถืออ่างกระเบื้อง จากนั้นทวีตข้อความ “Let that sink in” หรือแปลในทำนองที่ว่า ”ปล่อยให้จมลงไป” จากนั้นมีการเปลี่ยนคำอธิบายในโปรไฟล์เป็น Chief Twit และยังให้คำมั่นสัญญากับพนักงานว่าจะไม่มีการเลิกจ้างครั้งใหญ่ พร้อมให้ความมั่นใจกับนักโฆษณาว่าคำวิจารณ์ต่างๆ ของตัวเขาเกี่ยวกับการดูแลเนื้อหาของทวิตเตอร์จะไม่สร้างปัญหาอะไรให้การทำงานในอนาคตอย่างแน่นอน
ทวิตเตอร์ภายใต้เงาของอีลอน มัสก์ จะเป็นอย่างไรต่อไป
การตัดสินใจเข้าซื้อแพลตฟอร์มทวิตเตอร์ที่เป็นเจ้าตลาดอยู่แล้ว เปรียบได้กับการซื้อแพลตฟอร์มสำเร็จรูปที่มีทั้งฐานลูกค้าเดิมในจำนวนมหาศาล แถมยังได้แพลตฟอร์มที่ชื่นชอบตรงกับความต้องการที่จะสร้างแพลตฟอร์มการสื่อสารแบบ Free Speech ช่วยลดความเสี่ยงในการที่จะต้องไปเริ่มต้นจากศูนย์หากต้องการสร้างแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียขึ้นมาใหม่เองทั้งหมด เพียงแค่อยากให้มีอะไรในแพลตฟอร์ม ก็สามารถปรับนิดแต่งหน่อยได้ตามใจชอบ
การปิดดีลเข้าซื้อสำเร็จในครั้งนี้ถือได้ว่าเป็นเพียงจุดเริ่มต้นเท่านั้น ยังมีความท้าทายอีกมากมายที่ยังรอคอยทวิตเตอร์ภายใต้อีลอน มักส์อยู่ ในฐานะของผู้ใช้งานรวมไปถึงแบรนด์หรือนักการตลาดที่ใช้ทวิตเตอร์เป็นหนึ่งในช่องทางการทำการตลาดดิจิทัล จำเป็นต้องจับตาดูกันต่อไป ไม่ว่าจะเป็นฟีเจอร์ปุ่มแก้ไขข้อความ อวสานแอคหลุม และอื่นๆ อีกมากมายที่มักส์ให้สัญญาเอาไว้ว่าจะทำแน่หากได้เป็นเจ้าของกิจการอย่างเป็นทางการ สุดท้ายทวิตเตอร์จะยิ่งใหญ่ขึ้นกลายเป็นเจ้าตลาดยืนหนึ่งในทุกแพลตฟอร์มหรือจะอวสานเหมือนกับแพลตฟอร์มอื่นๆ เหมือนในอดีต เช่น ไฮไฟฟ์ หรือ MSN ก็ยังต้องคอยติดตามกันต่อไป
ทิ้งท้าย
ณ เวลานี้ยังเป็นเรื่องยากที่จะสรุปภาพรวมของทิศทางของทวิตเตอร์ เพราะในขณะที่ผู้ใช้งานบางกลุ่มแสดงความยินดีต่อผู้บริหารใหม่ แต่ก็ยังมีกลุ่มผู้ใช้อีกจำนวนมากที่มีความคิดเห็นตรงกันข้ามมีการรวมตัวและประกาศจะเลิกใช้ทวิตเตอร์เช่นกัน ดังนั้นอาจจะต้องรอติดตามการอัปเดตใหม่ๆ จากทวิตเตอร์กันต่อไป หากมีข่าวอะไรคืบหน้า Relevant Audience สัญญาว่าจะนำมาอัปเดตให้ฟังก่อนใครแน่นอน
Source: SEJ
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com
เว็บไซต์: www.relevantaudience.com