มีใครยังจำแผนที่แถวบ้านสมัยเด็กได้อยู่หรือไม่? ในวันที่ต้องเดินกลับบ้านด้วยตัวคนเดียวเป็นเรื่องยากเสมอ ที่จะต้องมานั่งนึกว่าเมื่อพ้นซอยนี้แล้วจะต้องเดินต่อไปทางไหน พอเริ่มโตขึ้นมาโชคดีที่โลกแห่งเทคโนโลยีทำให้เราใช้ชีวิตง่ายขึ้น เพียงแค่เปิดแอปฯ แผนที่ออนไลน์ ก็ช่วยให้ไปยังจุดหมายปลายทางได้สะดวกรวดเร็วมากขึ้น
เช่นเดียวกับแผนผังของเว็บไซต์หากไม่มีตัวช่วยในการบอกทางให้กับระบบอัลกอริทึมของกูเกิล ก็จะกลายเป็นเรื่องยุ่งยากที่จะให้ระบบสามารถค้นหาข้อมูลเพื่อนำไปรวบรวมและประเมินผลลัพธ์ในการจัดอันดับ SEO ของเว็บไซต์ แม้ว่าจะหมั่นเพียรคัดสรรคีย์เวิร์ดที่น่าสนใจหรือคอยปรับปรุงหน้าเว็บไซต์ไปมากแค่ไหนก็ตาม ในบทความนี้จะมาสอนเทคนิคที่เรียกว่า Keyword Mapping เพื่อช่วยจัดระเบียบคีย์เวิร์ดบนเว็บไซต์ให้เหมาะสมกับโครงสร้างเว็บไซต์ เพื่อให้ง่ายต่อการที่ระบบของกูเกิลเข้ามารวบรวมข้อมูลเพื่อนำไปประเมินการจัดอันดับ SEO ถ้าพร้อมแล้วไปดูกันเลย
การทำ Keyword Mapping สำคัญอย่างไร?
ก่อนที่จะเริ่มการทำ Keyword Mapping มาเริ่มต้นด้วยการทำความเข้าใจก่อนว่าทำไมการทำ Keyword Mapping ถึงสำคัญต่ออันดับของ SEO เพราะหากเปรียบเว็บไซต์เป็นบ้านหนึ่งหลัง บางบ้านอาจดูเป็นระเบียบเรียบร้อย แต่บางบ้านอาจมีเศษขยะที่ถูกซุกไว้ใต้พรมที่มากกว่าบ้านหลังอื่น หากการทำเว็บไซต์ของคุณเคยประสบปัญหา “หน้าที่อยากให้ติดไม่ติด แต่หน้าที่ไม่ได้อยากให้ติดดันติดแทนซะอย่างนั้น” การทำ Keyword Mapping ก็อาจจะช่วยแก้ปัญหานี้ได้ ด้วยการเชื่อมโยงคีย์เวิร์ดกับโครงสร้างเว็บไซต์ให้เข้าด้วยกัน พูดง่ายๆ คือ จะทำให้ทราบได้ว่ากลุ่ม Keyword ที่เราใช้อยู่นี้ควรที่จะต้องคู่กับเนื้อหาในลักษณะไหนถึงจะทำให้ได้ผลลัพธ์ SEO ที่ดีขึ้น นอกจากนี้การทำ Keyword Mapping ยังมีข้อดีอื่นๆ อีก เช่น
- ช่วยให้สามารถปรับกลยุทธ์การทำคอนเทนต์ได้ (ออกแบบเนื้อหาได้ตามความเหมาะสม)
- ช่วยปรับโครงสร้างของเว็บไซต์เพื่อให้ง่ายต่อประสบการณ์การรับชมของผู้ใช้งานเว็บไซต์ ลดโอกาสเนื้อหาที่ซ้ำกัน รวมไปถึงหลีกเลี่ยงการแข่งขันกันเองของหน้านั้นๆ
- ง่ายต่อการปรับแต่งโครงสร้างลิงค์ภายในเว็บไซต์ทั้ง Internal และ External Links
พอรู้ข้อดีการทำ Keyword Mapping อย่างนี้แล้ว มาเริ่มต้นทำกันเลย
1. เริ่มต้นด้วยการทำ Keyword Research
การคัดสรร Keyword ที่เหมาะสมเป็นเรื่องสำคัญมากในการทำเว็บไซต์ให้ติดอันดับ SEO และเป็นขั้นตอนแรกก่อนที่จะเริ่มกระบวนการทำ Keyword Mapping โดยหลักๆ มีการแบ่งประเภท Keyword ด้วยกันหลายหมวดหมู่มาก แต่ในที่นี้จะขอยึดตามหลักสากลทั่วไป คือ แบ่งออกเป็น 2 ส่วนมี Commercial Keyword และ Information Keyword โดยมีรายละเอียด ดังนี้
- Commercial Keyword คีย์เวิร์ดประเภทนี้จะเน้นไปที่การสร้างยอดขาย หรือช่วยเพิ่มค่า LEAD พูดง่ายๆ คือ เป็นคีย์เวิร์ดที่เอาไว้ใช้เรียกลูกค้าที่ต้องการซื้อสินค้าหรือต้องการใช้บริการ
- Information Keyword คีย์เวิร์ดประเภทนี้เหมาะสำหรับการสร้างข้อมูลที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ใช้งานทั่วไป ส่วนมากนิยมใช้ในคอนเทนต์ประเภทบทความเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถค้นเจอเว็บไซต์ผ่าน Search Engine
อย่างไรก็ตามการเลือกใช้ Keyword มีเคล็ดลับที่สำคัญอย่างหนึ่งคือ “ต้องพิจารณาจาก Search Intent ของผู้ใช้งาน” พูดง่ายๆ คือต้องรู้เขารู้เรา ทำความเข้าใจกระบวนการคิดที่อยู่ในเบื้องหลังของผู้ใช้งานว่าอะไรจะเป็นสาเหตุของการค้นหาคีย์เวิร์ดคำนั้น
2. วางโครงสร้าง Site Structure
การวางโครงสร้างคีย์เวิร์ดบนเว็บไซต์เพื่อให้ Google Bot รู้ว่าภายในเว็บไซต์มีหน้าไหนบ้างที่มีคีย์เวิร์ดสำคัญ ถือเป็นขั้นตอนแรกที่จำเป็นสำหรับการทำ Keyword Mapping บางเว็บไซต์ที่มีโครงสร้างไม่ได้ใหญ่มากอาจจะมีแค่ไม่กี่หน้า แต่ถ้าเว็บไซต์มีโครงสร้างที่ค่อนข้างใหญ่อาจจะมีความยุ่งยากเพิ่มขึ้นสักเล็กน้อย อย่างไรก็ตามนี่เป็นขั้นตอนที่เลี่ยงไม่ได้ ควรเริ่มต้นด้วยการโฟกัสไปทีละหน้า โดยอาจเริ่มต้นไปตามนี้
- หน้า Home Page โดยส่วนมากจะไม่นิยมวางคีย์เวิร์ดไว้ที่หน้าแรก เพราะเป็นหน้าที่เน้นความสวยงาม แต่ก็ขึ้นอยู่กับการออกแบบของผู้พัฒนาเว็บไซต์เช่นกัน
- หน้า Main Topic สำหรับหน้านี้จะเป็นหน้าที่ให้บริการหรือแสดงสินค้า ควรเน้นคีย์เวิร์ดจำพวก Commercial (คีย์เวิร์ดที่เน้นทำเงินให้กับธุรกิจ)
- หน้า Sub Topic สำหรับเว็บไซต์ที่ไม่ได้มีโครงสร้างหน้าที่เยอะมาก ก็อาจไม่มี แต่ถ้ามีก็ขึ้นอยู่กับการคัดสรรคีย์เวิร์ดที่เตรียมเอาไว้ อาจใช้คีย์เวิร์ดประเภท Commercial เหมือนก่อนหน้านี้ก็ได้เช่นกัน
- หน้า Post สำหรับหน้านี้จะเป็นการนำเสนอความรู้ต่างๆ เพราะฉะนั้นควรจะเลือกใช้ Information Keyword ทั้งหมด
อย่างไรก็ตามตัวอย่างข้างต้นเป็นเพียงรูปแบบพื้นฐานเท่านั้น เพราะการออกแบบเว็บไซต์ของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน แต่อย่างไรก็ตามสิ่งที่ต้องคำนึงคือ จุดประสงค์ของหน้านั้นๆ และต้องคำนึงถึง Search Intent ของกลุ่มเป้าหมายอยู่เสมอ
3. หมั่นตรวจสอบการทำ Keyword Mapping
หากทำตามครบทุกขั้นตอนแล้ว สิ่งสุดท้ายที่ควรทำเป็นประจำ คือหมั่นรีเฟรชการทำ Keyword Mapping อยู่เสมอ เพื่อเป็นการคอยปรับกลยุทธ์การสร้างคอนเทนต์บนเว็บไซต์เพื่อให้เว็บไซต์มีประสิทธิภาพที่ดีอย่างต่อเนื่อง เพราะการทำ Keyword Mapping ไม่ใช่การทำครั้งเดียวแล้วจบ แต่เป็นการทำในระยะยาว
ยิ่งเว็บไซต์มีรายละเอียดที่ซับซ้อนมากเท่าไหร่ การตรวจทานอย่างสม่ำเสมอจึงเป็นเรื่องสำคัญกว่ายิ่งกว่า แนะนำว่าควรทำ Keyword Mapping อย่างน้อย 2 ครั้งภายในระยะเวลา 1 ปี เพื่อเป็นการอัปเดตโครงสร้างเว็บไซต์ให้มีความถูกต้องอยู่ตลอดเวลา
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com