ถ้ามีคนบอกว่า “อินสตราแกรมเป็นแพลตฟอร์มที่เหมาะกับการโปรโมทธุรกิจท้องถิ่นที่สุด” หลายคนที่ได้ยินคงกลั้นขำกันแทบไม่หวาดไม่ไหว พลางนึกในใจว่า “แพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่เต็มไปด้วยคลิปแมวทำหน้าตลกๆ หรือโพสต์อวดแฟชันของเหล่าเซเลป จะช่วยให้แบรนด์ท้องถิ่นเข้าถึงฐานลูกค้าได้มากขึ้นอย่างไร?” แต่เชื่อหรือไม่? จริงๆ แล้วแพลตฟอร์มอินสตราแกรมมีอะไรมากกว่าแค่แพลตฟอร์มแชร์รูปภาพและวิดีโอสนุกๆ
มีงานวิจัยมากมายที่บ่งชี้ว่า 70% ของนักช้อป จะมองหาสินค้าหรือบริการครั้งต่อไปบนแพลตฟอร์มอินสตราแกรมก่อนเสมอ และ 50% ของนักช้อปจะมีความรู้สึกสนใจแบรนด์หนึ่งเพิ่มมากขึ้น หากพวกเขาเห็นโฆษณาบนแพลตฟอร์มอินสตราแกรม ลองคิดดูง่ายๆ ว่าอินสตราแกรมเป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานราว 1.13 พันล้านคน จึงเป็นคำตอบที่ว่าทำไมอินสตราแกรมจึงมีแอคเคาท์ธุรกิจมากกว่า 200 ล้านแห่ง ฉะนั้นในบทความนี้จะนำ 7 เคล็ดลับที่จะช่วยให้แบรนด์ท้องถิ่นสามารถขยายฐานลูกค้าให้เพิ่มขึ้นและสร้างการมีส่วนร่วม รับรองว่าอ่านจบแล้ว ยอดขายพุ่งแบบสับๆ แน่นอน
1. สร้างคอมมูนิตี้
อินสตราแกรมก็เหมือนกับแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ คือมีความเป็นคอมมูนิตี้สูง ฉะนั้นหากแบรนด์ต้องการเป็นส่วนหนึ่งก็ต้องใช้การมีส่วนร่วมเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมในคอมมูนิตี้นั้น แน่นอนว่าเพียงแค่การโพสต์ภาพหรือวิดีโอของสินค้าคงไม่พอ เพื่อการสร้างตัวตน คุณค่า หรือเพิ่มชื่อเสียงให้กับแบรนด์ในคอมมูนิตี้ การสร้างความสัมพันธ์กับแบรนด์คู่แข่งอินฟลูเอนเซอร์และผู้ติดตามคนอื่นๆ ด้วยการสร้างบทสนทนาที่ยาวไม่รู้จบ ไม่ว่าจะเป็นการตอบคำถาม คลายความกังวล รับฟังคำติชมต่างๆ ก็จะเป็นการช่วยให้แบรนด์สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของคอมมูนิตี้ได้อย่างกลมกลืน นอกจากนี้ยังเป็นโอกาสที่ดีที่จะจัดการกับความคิดเห็นเชิงลบต่างๆ เพื่อแก้ต่างให้กับแบรนด์ไปในตัวด้วย
2. รีโพสต์คอนเทนต์
การให้ลูกค้าหรือผู้ติดตามสร้างคอนเทนต์ให้กับแบรนด์ (User Generated Content) เป็นเทคนิคการโปรโมตที่แบรนด์นั้นมีแต่ได้กับได้ โดยคอนเทนต์ประเภทนี้สามารถเป็นได้ทั้งรูปภาพ วิดีโอ หรือรีวิวสินค้า (ในเชิงบวก) ที่ลูกค้าโพสต์บนหน้าฟีดของตัวเอง จากนั้นสิ่งที่ผู้ประกอบการต้องทำก็คือการนำโพสต์เหล่านั้นมารีโพสต์บนช่องทางของเราอีกที การรีโพสต์จากกลุ่มลูกค้าที่ได้ใช้สินค้าหรือบริการของแบรนด์จริงๆ จะทำให้แบรนด์ดูมีคุณค่ามากขึ้น น่าเชื่อถือและดูเข้าถึงได้ง่าย แถมยังมีโอกาสขยายฐานลูกค้าด้วยการบอกต่อแบบ ”ปากต่อปาก” (Word of Mouth)
อย่างไรก็ตาม การรีโพสต์ของคนอื่นอย่าลืมที่จะขออนุญาตแบบกิจจะลักษณะ ด้วยการส่งข้อความไป DM ไปหา รวมถึงห้ามรีโพสต์คอนเทนต์ของลูกค้าเด็ดขาดหากยังไม่ได้มีการขออนุญาตอย่างเป็นทางการ
3. รักษา Mood & Tone ของแบรนด์
เป็นเรื่องจริงที่ผู้ประกอบการส่วนมากนิยม คือการใช้อินสตราแกรมเป็นเพียงหนึ่งในแพลตฟอร์มสำรองในการขยายการติดต่อของแบรนด์ หรือเพื่อโปรโมทเพิ่มเติมเท่านั้น ถึงแม้ว่าอินสตราแกรมจะเป็นแพลตฟอร์มที่มีลักษณ์แตกต่างจากแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอื่นๆ แต่อย่างไรก็ตาม การสร้างความรู้สึกสม่ำเสมอในทุกแพลตฟอร์มนั้นเป็นเรื่องสำคัญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแง่ของความเป็น Mood & Tone ของแบรนด์ เช่น หากแบรนด์มีลักษณะขี้เล่น ชอบใช้คำพูดคำจากวนๆ บน Facebook แต่อยู่ดีๆ กลับเปลี่ยนเป็นคนละคนเมื่อมาอยู่บนอินสตราแกรม ก็มีความสุ่มเสี่ยงที่สร้างความสับสนให้ลูกค้าได้ ฉะนั้นการสร้างภาพลักษณ์เดียวกันในทุกแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียแม้จะดูเป็นเรื่องเล็กน้อย แต่อาจส่งผลลัพธ์ในแบบที่คุณคาดไม่ถึงแน่นอน
4. ทำตัว Trendy
1 ปี มี 365 วัน และใน 1 ปี มี Holiday Events ที่นับไม่ถ้วน และเชื่อไหมว่าธุรกิจต่างๆ สามารถใช้ประโยชน์จากวันเหล่านี้ในการดึงดูดลูกค้าด้วยข้อความในธีมอีเวนต์ต่างๆ ได้ นอกจากการใช้ประโยชน์จากกระแสวันหยุดสุดพิเศษต่างๆ เหล่านี้แล้ว การหยิบเรื่องในกระแสตามสื่อต่างๆ มาใช้เป็นไอเดียในการโพสต์คอนเทนต์ต่างๆ ก็จะช่วยในเรื่อง Engagement จากกลุ่มเป้าหมายได้ดีมากขึ้น รวมถึงเป็นการแสดงให้เห็นว่าแบรนด์ก็มีความทันกระแส ไม่เอาท์เดต แต่สิ่งที่ต้องระวังจากการใช้คอนเทนต์ที่อิงตามกระแส คือจะทำอย่างไรไม่ให้ผลลัพธ์ออกมาแล้วดูแป๊ก ไม่คูลเหมือนแบรนด์อื่นๆ
สองสิ่งที่ต้องคำนึงเสมอ คือ ความเกี่ยวข้องและความเหมาะสม กระแสใดก็ตามที่หยิบยกมาเล่นแล้ว ไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับสินค้าหรือบริการของแบรนด์แม้แต่นิดเดียว ได้โปรดอย่าฝืน! เช่นเดียวกับความเหมาะสม หากประเด็นไหนที่ดูสุ่มเสี่ยงที่จะสร้างความเดือดร้อน อย่าคิดที่จะนำเรื่องเหล่านั้นมาปั่นกระแสเพื่อต่อยอดใดๆ ไม่อย่างนั้นแบรนด์อาจจะพังแบบภายในเสี้ยววินาทีเลยก็ได้
5. ใช้แฮชแท็กให้เป็น
ร้อยละ 90 ของผู้ใช้งานอินสตราแกรมมักจะเลื่อนดูฟีดไอจีอย่างรวดเร็ว ดังนั้นโพสต์ของแบรนด์จะต้องมีลักษณะเป็นนักเล่าเรื่องที่ดี สั้นกระชับ ได้ใจความ และสามารถนำคำศัพท์ฮิตมาพลิกแพลงให้ดูน่าสนใจ
การใช้แฮชแท็กไม่ได้แตกต่างจากการเขียนแคปชัน ดังนั้นไม่ควรที่จะยัดเยียดแฮชแท็กที่ไม่เกี่ยวข้องไปเรื่อย เพราะอาจจะสร้างความรู้สึกเหมือนสแปมให้กับผู้ที่พบเห็นได้ ควรอธิบายส่วนที่สำคัญที่สุดของแบรนด์อย่างผลิตภัณฑ์หรือบริการนั้นๆ หรืออธิบายแคมเปญหรือกิจกรรมที่เพิ่มความน่าสนใจให้กับผู้ติดตามหรือลูกค้าได้
6. อย่าลืมเขียน Instagram Bio ให้น่าสนใจ
รู้หรือไม่? ว่า Instagram Bio มีบทบาทสำคัญมากในการนิยามตัวตนของธุรกิจว่า ธุรกิจคุณคืออะไร ขายหรือให้บริการอะไร อย่าลืมว่านอกเหนือจากชื่อร้านและรูปภาพแล้ว เนื้อหา Bio เป็นสิ่งแรกๆ ที่ผู้คนจะมองเห็น ฉะนั้นถ้าเนื้อหาในส่วนนี้ไม่ได้สร้างความรู้สึกน่าสนใจหรือมีแรงดึงดูดที่มากพอ โอกาสที่จะเสียผู้ติดตามและยอดขายก็มีสูง
แบรนด์สามารถใช้ลูกเล่นอย่างอิโมจิเพื่อเพิ่มสีสันให้สะดุดตามากขึ้น หรือการใส่ลิงก์ข้อเสนอต่างๆ อย่างโปรโมชันลดราคา การจัดส่งฟรี เพื่อดึงดูดลูกค้าให้เข้ามามากขึ้น และที่สำคัญคือห้ามลืมแนบลิงก์ของร้านเพื่อเพิ่มโอกาสให้ผู้ติดตามบนอินสตราแกรมสามารถเข้าไปเยี่ยมชมได้อย่างสะดวกมากขึ้น
7. ติดตามและวัดผลอย่างต่อเนื่อง
พฤติกรรมของผู้บริโภคสมัยนี้มีลักษณะที่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าถ้าในวันนี้ผู้ติดตามจำนวนหนึ่งเป็นแฟนคลับตัวยงของแบรนด์ แต่เมื่อผ่านไประยะเวลาหนึ่งความชอบของพวกเขาเหล่านั้นก็อาจเปลี่ยนไปด้วยเช่นกัน ฉะนั้นการติดตามข้อมูลเชิงลึกต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการตรวจสอบยอดไลก์ ความคิดเห็น ทุกการแชร์ของแต่ละโพสต์ว่ามีอะไรที่ดึงดูดใจพวกเขาเหล่านั้น และนำข้อมูลต่างๆ มาปรับปรุงอย่างสม่ำเสมอ หากมีการติดตามและวัดผลเหล่านี้เป็นประจำก็จะช่วยให้แบรนด์สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมให้อยู่ด้วยกันไปแบบนานๆ ได้แน่นอน
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com