7 เทคนิคกระตุ้นยอดขายบนเว็บไซต์ E-Commerce

RA CONTENT JUL 19 C2 Blog Size [1200x628px] (37)

ท่ามกลางสถานการณ์โรคระบาดที่ส่งผลให้พฤติกรรมของผู้บริโภคนิยมหันมาซื้อของผ่านโลกออนไลน์มากขึ้น ทำให้หลายธุรกิจเริ่มปรับตัวมาเปิดหน้าร้านออนไลน์กันอย่างล้นหลาม จึงไม่อาจปฏิเสธได้ว่าโลกของการค้าขายออนไลน์นั้นมีการขยายตัวอย่างก้าวกระโดด สำหรับแบรนด์ไหนที่มีเว็บไซต์ E-Commerce ที่ติดตลาดแล้วก็ถือว่าโชคดีไป 

แต่สำหรับใครที่เพิ่งเริ่มต้นและต้องการกระตุ้นยอดขายบนเว็บไซต์ E-Commerce แต่ไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มโฟกัสที่จุดไหนเพื่อสร้างยอดขาย ให้สร้างกำไรได้อย่างพุ่งกระฉูด ในบทความนี้จะมานำเสนอเทคนิคที่ทำตามได้ง่ายๆ สามารถนำไปปรับใช้กับในช่องทาง E-Commerce ของธุรกิจได้ทันที ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย

1.รู้จักใช้ป๊อปอัปให้เป็น

เชื่อว่าหลายคนที่ซื้อสินค้าบนเว็บไซต์ E-Commerce คงมีประสบการณ์ในการเจอป๊อปอัปบนหน้าเว็บไซต์ในรูปแบบที่หลากหลาย ที่อาจสร้างความรู้สึกที่น่ารำคาญและเป็นการรบกวนการเลือกซื้อสินค้ากันเป็นประจำ แน่นอนว่าในฐานะของเจ้าของเว็บไซต์ป๊อปอัปบางประเภทก็จำเป็นที่จะต้องมีอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เช่น ป๊อปอัปแสดง Privacy Policy หรือในบางครั้งอาจเกี่ยวข้องกับโปรโมชันการขาย แน่นอนว่าป๊อปอัปไม่ใช่เรื่องเลวร้ายตราบใดที่สามารถใช้ป๊อปอัปในทางที่ถูก เช่น

  • อย่าเริ่มต้นพยายามเก็บข้อมูลผู้คนทันทีที่พวกเขาเข้ามายังหน้าเว็บไซต์ ไม่ว่าจะเป็นแบบสำรวจอะไรก็ตาม ควรที่จะรอจนกว่าผู้เยี่ยมชมเหล่านั้นตัดสินใจซื้อสินค้าให้สำเร็จก่อนถึงค่อยดำเนินการเก็บข้อมูล
  • ในกรณีที่ต้องการใช้ป๊อปอัปเก็บข้อมูลผู้เยี่ยมชมเว็บไซต์ ควรมีข้อเสนอที่น่าสนใจแลกเปลี่ยน ไม่ว่าจะเป็นโปรโมชันส่วนลดหรือการเสนอให้ทดลองใช้งานบริการฟรี เป็นต้น
  • หลีกเลี่ยงป๊อปอัปที่อาจสร้างปัญหาให้กับเว็บไซต์ในระยะยาว (สามารถอ่านตัวอย่างเพิ่มเติมได้ในบทความนี้)

2.รู้จักการใช้เทคนิค Cross Sell

อีกหนึ่งเทคนิคยอดนิยมสำหรับเว็บไซต์ E-Commerce ในการกระตุ้น AOV (Average Order Value) หรือมูลค่าการสั่งซื้อโดยเฉลี่ยบนเว็บไซต์ที่เป็นการเสนอขายสินค้าหรือบริการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งที่ลูกค้าต้องการซื้อ ควรทำดังนี้ เมื่อลูกค้ากำลังจะสั่งซื้อเสื้อผ้ากีฬา เว็บไซต์อาจจะแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกันเพื่อดึงดูดลูกค้าและเพิ่มโอกาสในการขายมากขึ้น โดยสามารถแสดงสินค้าผ่านหมวดหมู่ต่างๆ ที่เป็นที่นิยมต่อไปนี้

  • คนดูเป็นจำนวนมาก (People Also Viewed)
  • สินค้าเป็นที่นิยม (Customers Also Bought)
  • สิ่งที่คุณอาจชอบ (You May Also Like)
  • สินค้าที่เกี่ยวข้อง (Related Items)
  • แนะนำสำหรับคุณ (Recommend for you)

3.ความเร็วของเว็บไซต์

Site Speed หรือความเร็วของเว็บไซต์เป็นเรื่องสำคัญอย่างมากต่อประสบการณ์การใช้งานเว็บไซต์ อย่าลืมว่าเว็บไซต์ที่โหลดช้าไม่ได้แค่สร้างความรู้สึกผิดหวังให้กับผู้ใช้งานเพียงอย่างเดียว แต่ส่งผลเสียต่ออันดับของเว็บไซต์ในระยะยาวด้วย สำหรับวิธีแก้ไขหากพบว่าเว็บไซต์โหลดช้า มีวิธีเช็กเบื้องต้น ดังนี้

  • ตรวจสอบไฟล์รูปภาพที่อาจสร้างปัญหาอาการหน่วงให้กับเว็บไซต์
  • ตรวจสอบโฮสต์หรือผู้ให้บริการเซิร์ฟเวอร์
  • ตรวจสอบปลั๊กอินบนเว็บไซต์

4.หน้ารายการสินค้า

สำหรับหน้ารายการสินค้าเป็นองค์ประกอบที่จะช่วยกระตุ้นการตัดสินใจของผู้ซื้อได้เป็นอย่างดี ดังนั้นอย่าลืมที่จะแสดงรายละเอียดข้อมูลต่างๆ ที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาสินค้า ไม่ว่าจะเป็น

  • ภาพทุกมุมของสินค้า
  • ฟังก์ชันการซูมภาพสินค้า
  • คลิปวิดีโอขนาดสั้น (ถ้าเป็นไปได้)
  • เทคโนโลยี AR
  • สถานะสต๊อกสินค้าหรือระยะเวลาในการส่งมอบสินค้า
  • บทรีวิวออนไลน์จากผู้ใช้งานจริง
  • รายละเอียดพื้นฐานของสินค้าโดยละเอียด

5.ตะกร้าสินค้า

สำหรับฟังก์ชันที่เป็นหนึ่งในองค์ประกอบที่สำคัญบนหน้าเว็บไซต์ E-Commerce คือ ”ตะกร้าสินค้า” เพราะถือว่าเป็นจุดสำคัญใน Purchase Journey ของลูกค้าที่จะช่วยกระตุ้นให้ลูกค้าดำเนินการเลือกซื้อสินค้าจนจบที่การชำระเงินในขั้นตอนสุดท้าย เพราะฉะนั้นหากเว็บไซต์ของคุณมีฟังก์ชันตะกร้าสินค้าที่ไม่สามารถช่วยสร้างความมั่นใจให้กับผู้ซื้อได้ นั่นหมายถึงเว็บไซต์ของคุณปิดประตูการขายไปแล้วหนึ่งบาน ดังนั้นลองมาดูเทคนิคที่จะช่วยบรรเทาความวิตกกังวลให้กับกลุ่มลูกค้าของคุณกัน ดังนี้

  • ตรวจสอบให้แน่ใจว่าลูกค้าของคุณสามารถกดย้อนกลับไปเพื่อดูรายละเอียดต่างๆ ของสินค้าได้อีกครั้ง
  • มีคำอธิบายเกี่ยวกับนโยบายการคืนสินค้าที่ชัดเจนและเข้าใจได้ง่าย
  • การคำนวณราคาสินค้าที่ถูกต้อง 
  • มีตัวเลือกการจัดส่งอย่างหลากหลาย 

6.ขั้นตอนการชำระเงิน

สำหรับเว็บไซต์ E-Commerce ไม่มีอะไรที่สำคัญไปกว่าขั้นตอนการชำระเงิน ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณสามารถมอบประสบการณ์ที่ดีที่สุดให้กับลูกค้า อย่าลืมที่จะ

  • ใส่คำแนะนำในการซื้อสินค้าอย่างตรงไปตรงมา ไม่ให้ผู้ซื้อเกิดความรู้สึกสับสนในการกดชำระเงิน
  • ใส่ BNPL Option ในปัจจุบันออปชันการซื้อสินค้าในรูปแบบ BNPL หรือ การซื้อก่อนจ่ายทีหลัง เริ่มได้รับความนิยมมากขึ้นเรื่อยๆ  ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าเว็บไซต์ของคุณจะไม่ตกเทรนด์นี้ 
  • ใส่ฟีเจอร์ Guest Checkout 

7.ประสบการณ์ใช้งานเว็บไซต์บนมือถือ

ในปี 2022 พฤติกรรมของผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตได้เปลี่ยนแปลงไปอย่างมาก ผู้คนส่วนมากนิยมซื้อสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์บนโทรศัพท์มือถือและแท็บเล็ตมากขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ดังนั้นเพื่อให้แน่ใจว่าผู้ซื้อจะได้รับประสบการณ์ที่ดีที่สุดอย่าลืมที่จะทดสอบทุกสิ่งที่กล่าวไปในข้างต้นให้แสดงผลได้ดีที่สุดบนอุปกรณ์เคลื่อนที่ นอกจากนี้หากเป็นไปได้ก็สามารถที่จะมี Mobile Application แยกออกมาจากเว็บไซต์หลักเพื่อเอื้อต่อประสบการณ์ในการเลือกซื้อสินค้าของลูกค้าโดยเฉพาะก็ได้ 

สำหรับใครที่กำลังเริ่มต้นพัฒนาเว็บไซต์ E-Commerce อยู่ รับรองว่า ทั้ง 7 ข้อข้างต้นนี้จะช่วยให้เว็บไซต์ของคุณมีแนวโน้มที่จะเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีให้กับลูกค้าได้อย่างแน่นอน อย่างไรก็อย่าลืมนำไปปรับใช้กับกลยุทธ์การตลาด การันตียอดขายพุ่งกระฉูดแน่นอน

รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience

Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

โทร.: 02-038-5055 

อีเมล: info@relevantaudience.com 

เว็บไซต์: www.relevantaudience.com 

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr

Related Articles

เมนู