จะเกิดอะไรขึ้นหากเว็บไซต์ของคุณโหลดช้าหรือลูกค้าของคุณเข้าเว็บไซต์มาแล้วต้องมาเสียเวลารอโหลดหน้าเว็บไซต์อยู่นานสองนาน หรือจะกดสั่งของครั้งหนึ่งก็ต้องมารอหน้าจอหมุนๆ จนอาจเปลี่ยนใจไปสั่งสินค้าของบนเว็บไซต์อื่น
มีคนกล่าวไว้ว่า การแต่งงาน การย้ายบ้าน และการย้ายงาน เป็นสามสิ่งที่น่าเวียนหัวที่สุดในชีวิต แต่หากว่าคุณเป็น Web Developer แล้วล่ะก็ อีกหนึ่งสิ่งที่น่าจะปวดกว่ากันไม่น้อยเลยคือการย้าย Web Hosting (เว็บโฮสติ้ง) ในวันนี้ Relevant Audience จะมาแนะนำวิธีการและเทคนิคแบบไม่กั๊กที่จะทำให้คุณเปลี่ยน Hosting ใหม่ได้แบบง่ายๆ ภายใน 7 ขั้นตอน วันนี้รับประกันได้ว่าเมื่อคุณอ่านจบแล้ว สามารถทำตามได้ทันที
ขั้นตอนที่ 1 เลือกโฮสต์ใหม่ที่ไว้ใจได้
ถ้าการแก้ไขปัญหาเบื้องต้นในหน้าเว็บไซต์ของคุณไม่ได้ทำให้ความเร็วในหน้าเว็บไซต์ดีขึ้น ทางเลือกที่ดีที่สุดที่เราจะแนะนำให้คุณคือการเปลี่ยน Web Hosting ใหม่ และการเลือกผู้ให้บริการ Hosting ควรทำการศึกษาข้อมูลและพิจารณาอย่างรอบคอบ ในขั้นตอนนี้อาจถือได้ว่าเป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด เพราะการเปลี่ยน Web Hosting บ่อยๆ คงไม่ใช่เรื่องที่น่ายินดีต่อเว็บไซต์ของคุณ ในปัจจุบันมีผู้ให้บริการ Hosting ดังนี้
- Shared Hosting สำหรับคนที่มีงบประมาณไม่สูงมาก และต้องการเว็บไซต์แบบทั่วไปที่ไม่มีการแสดงผลที่ซับซ้อน แต่ต้องยอมรับกับความเสี่ยงที่เซิร์ฟเวอร์จะมีอาการช้า อืด เพราะ Shared Hosting จะเป็นการนำเซิร์ฟเวอร์มาแบ่งให้ลูกค้าใช้เซิร์ฟเวอร์ร่วมกัน
- Private Hosting หากต้องการความปลอดภัยและความเป็นส่วนตัวที่สูง สามารถปรับแต่ง Custom Plan ให้เหมาะกับความต้องการเฉพาะของธุรกิจ และมีความสเถียรที่ดีกว่า Private Hosting อาจจะเป็นตัวเลือกที่เหมาะสม แต่แน่นอนว่าต้องแลกกับค่าบริการที่สูงกว่าเช่นกัน
ข้อแนะนำในการเลือก Hosting คือ ควรศึกษาทำความเข้าใจว่าเว็บไซต์ที่คุณกำลังทำอยู่ มีลักษณะอย่างไร ในอนาคตวางแผนที่จะทำอะไรมากขึ้นหรือไม่ เช่น หากอยากให้เว็บไซต์ของคุณเป็นลักษณะแบบ eCommerce คือ มีการซื้อขายสินค้าผ่านหน้าเว็บไซต์ ก็ควรเริ่มต้นที่ Private Hosting ก่อนเลยก็ได้จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาซ้ำซ้อนในการย้าย Hosting ในภายหลัง
ขั้นตอนที่ 2 ติดตั้งปลั๊กอิน Duplicator
หลังจากที่คุณเลือกโฮสต์ใหม่ในการย้ายได้แล้ว ในขั้นตอนนี้เราจะเป็นการติดตั้งปลั๊กอินซึ่งเป็นตัวช่วยในการย้ายข้อมูลบนเว็บไซต์คุณไปยังโฮสต์ใหม่ ในตัวอย่างนี้เราจะใช้ปลั๊กอิน Duplicator เนื่องจากไม่เสียค่าใช้จ่ายและง่ายต่อการใช้งาน
เมื่อคุณติดตั้งปลั๊กอิน Duplicator แล้ว ให้ไปที่ Duplicator >> Packages ในหน้า WordPress Admin Area จากนั้นให้คลิกปุ่ม Create New
จากนั้นให้คลิกปุ่ม Next เพื่อสร้าง Package ใหม่
ให้ตรวจสอบว่าทุกช่องขึ้นสถานะ Good จากนั้นคลิกปุ่ม Build (ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาสักพักหนึ่ง)
เมื่อเสร็จแล้วให้คลิกปุ่ม ‘One Click Download’ ก็จะได้ Archive Files จากข้อมูลในเว็บไซต์ของคุณและไฟล์ Installer.php
ขั้นตอนที่ 3 Import Database
ขั้นตอนนี้จะเป็นการอัปโหลดไฟล์ที่ได้มาในขั้นตอนที่แล้วลงในโฮสต์ใหม่ของคุณ สามารถทำได้โดยผ่าน FTP ในการเชื่อมต่อกับโฮสต์ใหม่ ในขั้นตอนนี้คุณจำเป็นต้องใช้ Server Hostname หรือ IP Adress ของโดเมนเว็บไซต์เก่าของคุณ หลังจากนั้นให้อัปโหลดไฟล์ Installer และ Archive ลงใน Root Directoy ของเว็บไซต์ โดยปกติจะเป็นโฟลเดอร์ /username/public_html/folder ก่อนอัปโหลดโปรดตรวจสอบให้แน่ใจว่าโฟลเดอร์นี้ว่างเปล่าอยู่เสมอ
ขั้นตอนที่ 4 เปลี่ยน Host File เพื่อป้องกันอาการ Downtime
หลังจากอัปโหลดทั้งสองไฟล์แล้ว เมื่อคุณเปิดไฟล์ Installer.php โดยปกติ URL ที่เด้งขึ้นมาจะเป็นหน้า 404 Error เนื่องจากยังเป็นชื่อโดเมนของเว็บไซต์บนโฮสต์เก่าอยู่ โดยทั่วไปคุณจำเป็นต้องเปลี่ยนชื่อโดเมนใหม่ แต่ในบทความนี้เรามีเทคนิคไม่ลับที่จะทำให้คุณยังสามารถใช้โดเมนบนโฮสต์เก่าของคุณได้
ขั้นแรกคุณต้องหา IP Address ของเซิร์ฟเวอร์ Web Hosting อันใหม่ของคุณ ผ่านการล็อกอินเข้าไปที่ cPanel ในหน้า Dashboard และคลิกปุ่ม Expand Stats Link ทางด้านซ้ายมือของ Sidebar ก็จะแสดงให้เห็นถึง Shared IP Address หรือบางโฮสต์สามารถหา IP Address ได้จากหน้า Account Information
ต่อมาให้เปิดโปรแกรม Notepad โดยไปที่ Programs >> All Programs >> Accessories คลิกขวาที่ Notepad และเลือก Run as Administrator ในหน้า Notepad ไปที่ File >> Open เลือก “โฟลเดอร์ C :\Windows\System32\drivers\etc” ให้เลือกไฟล์ Host และคลิกปุ่ม Open จากนั้นให้ใส่ IP Address ที่คุณหามาจากเว็บโฮสต์ใหม่และชื่อโดเมนในเว็บโฮสต์เก่าของคุณ จากนั้นให้คลิกปุ่ม Save Your Changes
ขั้นตอนที่ 5 สร้าง MySQL Database ในเว็บโฮสต์ใหม่
ก่อนที่คุณจะรันไฟล์ Installer ต้องไม่ลืมสร้าง MySQL Database ในเว็บโฮสต์ใหม่ โดยสามารถทำได้ผ่าน cPanel ดังนี้
ไปที่หน้า cPanel Dashboard ในเว็บโฮสต์อันใหม่ของคุณ คลิก MySQL Databases
จากนั้นให้ตั้งชื่อโฟลเดอร์ Database คลิกปุ่ม Create Database
ในหน้า MySQL Users ให้กรอก Username และ Password จากนั้นคลิกปุ่ม Create a User
จากนั้นให้เพิ่ม User ไปที่ Database โดยไปที่หน้า Add User to a Database
เพียงเท่านี้ก็จะสามารถใช้ User นี้ในการใช้งานการย้ายข้อมูลไปเว็บไซต์บนโฮสต์ใหม่ได้แล้ว
ขั้นตอนที่ 6 ย้ายข้อมูล
เมื่อพร้อมสำหรับการย้ายเว็บโฮสต์แล้ว ให้เริ่มจากเปิดหน้า Browser ขึ้นมา ใส่โดเมนไปตามนี้ https://www.example.com/installer.php ในส่วนของ example ให้เปลี่ยนเป็นชื่อโดเมนของคุณ ไฟล์ Installer ก็จะเริ่มทำงานโดยการ Test ไฟล์ต่างๆ จากนั้นให้คลิกปุ่ม Next
จากนั้นจะเป็นหน้าการเข้าสู่ MySQL Host ให้คุณใส่ Database Name, Username และ Password ที่ได้จากในขั้นตอนก่อนหน้า จากนั้นให้คลิกปุ่ม Test Database เพื่อตรวจสอบว่าข้อมูลที่คุณใส่ไปถูกต้อง คลิกปุ่ม Next เพื่อให้ปลั๊กอิน Duplicator นำ Database จากไฟล์ Archive ที่คุณโหลดมาในขั้นตอนที่ 2 ไปยังตัว Database อันใหม่ของคุณ
จากนั้นจะมีหน้าต่างขอให้คุณอัปเดต URL ของเว็บไซต์ อย่างไรก็ตาม กรณีที่ไม่ได้เปลี่ยนชื่อโดเมนเป็นอันใหม่จากทริคที่เราได้สอนไปก็ไม่จำเป็นต้องสนใจ แต่ให้คลิกปุ่ม Continue เพื่อให้ปลั๊กอิน Duplicator ย้ายข้อมูลจนเสร็จสิ้น เมื่อถึงหน้าล็อกอิน ก็แสดงว่าข้อมูล WordPress Website ถูกย้ายไปยังเว็บโฮสต์อันใหม่เรียบร้อยแล้ว
ขั้นตอนที่ 7 อัปเดต Domain Name Servers (DNS)
เมื่อคุณคัดลอก WordPress Database ไปยังเว็บโฮสต์ใหม่เรียบร้อยแล้ว อย่าลืมที่จะอัปเดตโดเมนใหม่ หากคุณใช้ Hosting Provider เช่น Domain.com, GoDaddy, Network Solutions คุณจำเป็นต้องอัปเดต DNS nameservers
ตัวอย่าง เช่น หากคุณใช้ GoDaddy ให้คลิกที่หน้า Domains จากนั้นจะเห็นปุ่ม Manage
เมื่อเข้ามาในหน้า Additional Settings คลิกปุ่ม Manage DNS
ในหน้า Nameservers คลิกปุ่ม Change
อย่าลืมปรับ Nameserver Type เป็น Custom จากนั้นในใส่ Nameserver ที่คุณต้องการ คลิกปุ่ม Save เพียงแค่นี้ผู้ใช้งานในเว็บไซต์คุณก็จะสามารถเข้าถึงเนื้อหาเดียวกันกับเว็บไซต์บนโฮสต์เดิมของคุณได้อย่างราบรื่น
ถึงตรงนี้จะเห็นได้ว่ากระบวนการย้ายข้อมูลจากเว็บโฮสติ้งเดิมไปยังเว็บโฮสติ้งใหม่ ไม่ใช่เรื่องน่าปวดหัวอย่างที่คิด เพราะฉะนั้นไม่จำเป็นต้องทนใช้โฮสต์ที่ทำให้เว็บของคุณช้าหรือตอบสนองไม่ดี จนทำให้ลูกค้าของคุณเปลี่ยนใจไปเว็ปไซต์อื่น แต่หากคุณยังมีข้อสงสัยเกี่ยวกับ Web Hosting และ WordPress Hosting สามารถปรึกษากับเราเพื่อหา Solution ที่ดีที่สุดให้ธุรกิจของคุณได้ที่ Relevant Audience
รับปรึกษาการทำ SEO แบบมืออาชีพ ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com
เว็บไซต์: www.relevantaudience.com