Retargeting เป็นหนึ่งในกลยุทธ์การทำแคมเปญ PPC (Pay Per Click) ที่เป็นการติดตามการใช้งานเว็บไซต์หรือบนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียของกลุ่มเป้าหมาย ในการเลือกดูสินค้าหรือบริการของแบรนด์ จากนั้นจะเป็นการยิงโฆษณาเพื่อไปกระตุ้นให้ลูกค้าเห็นในขณะที่กลุ่มเป้าหมายอยู่ในช่องทางออนไลน์อื่นๆ เพื่อเป็นการย้ำเตือนความสนใจให้กลับมาตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการของแบรนด์อีกครั้งโดยมากจะเห็นกลยุทธ์นี้ในกลุ่มธุรกิจประเภท E-Commerce เป็นส่วนใหญ่ ปัจจุบันแต่ละแพลตฟอร์มก็มีเครื่องมือที่ช่วยในการทำแคมเปญ Retargeting อย่างหลากหลาย เช่น Dynamic Ads บน Facebook, Official Account Retargeting บน Line หรือ Retargeting List for Search Ads (RLSA) บน Google เป็นต้น
อย่างไรก็ตามการใช้กลยุทธ์ Retargeting ไม่ได้มีแต่ข้อดีเพียงอย่างเดียว หากนักการตลาดใช้อย่างไม่ระมัดระวังมากพออาจทำให้กลุ่มเป้าหมายเกิดอาการหงุดหงิดและส่งผลเสียต่อแบรนด์ในระยะยาวได้ ฉะนั้นในบทความนี้จะนำ 6 เรื่องที่นักการตลาดควรพิจารณาเพื่อหลีกเลี่ยงข้อผิดพลาดกับการใช้กลยุทธ์ Retargeting บนแคมเปญ PPC กัน ถ้าพร้อมแล้ว มาดูกันเลย
1.ตรวจสอบกลุ่มเป้าหมายให้ดี
สิ่งที่สำคัญที่สุดในการใช้กลยุทธ์ Retargeting นั่นคือการกำหนดกลุ่มเป้าหมายให้เหมาะสม ไม่ว่าจะเป็นการใช้ข้อมูลจาก Analytics Tools อื่นๆ เพื่อให้สามารถคาดการณ์กลุ่มเป้าหมายที่เหมาะสมในการทำ Retargeting ให้ได้ผลลัพธ์ที่ดีขึ้น พูดง่ายๆ คือควรศึกษาหรือทำความร้จักกลุ่มเป้าหมายให้ดีพอโดยการตั้งคำถามว่า กลุ่มเป้าหมายคือใคร? มีช่วงอายุเท่าไหร่ เพราะถ้าหากไม่มีการรีเสิร์ชข้อมูลของกลุ่มเป้าหมายที่ดีและมากพอ จะทำให้การใช้กลยุทธ์ Retargeting ไม่เกิดผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่แบรนด์วางเอาไว้ รวมถึงอาจจะเสียทั้งเวลาและงบประมาณในการโปรโมตแคมเปญอีกด้วย
2. อย่าลืมใช้กลยุทธ์การขายแบบ Up-Selling และ Cross-Selling
สำหรับใครเป็นเซลขายสินค้าคงรู้จักกลยุทธ์การขายที่เรียกว่า Up Selling และ Cross Selling กันดีอยู่แล้ว โดย Up Selling คือกลยุทธ์การขายที่ผู้ขายมีการแนะนำสินค้าหรือบริการที่มีคุณสมบัติและราคาที่เหนือกว่าสิ่งที่ลูกค้ากำลังเลือก ลองนึกภาพตอนที่เวลาคุณเดินเข้าร้านฟาสต์ฟู๊ดแล้วเลือกซื้อเซ็ตไก่ทอดในราคา 99 บาท แต่พนักงานคะยั้นคะยอให้คุณเพิ่มเงินอีก 10 บาทเพื่ออัปไซส์เป็นขนาดจั้มโบ้ ส่วน Cross Selling จะแตกต่างกับ Up Selling คือเปลี่ยนจากการอัปเกรดสินค้าหรือบริการให้ดีกว่าเดิมเป็นการโน้มน้าวให้ลูกค้าซื้อสินค้าหรือบริการหนึ่งเพิ่มเติมที่มีความเกี่ยวข้องกันนั่นเอง เช่นในกรณีที่ลูกค้าเลือกซื้อคอมพิวเตอร์พร้อมกับการนำเสนอเมาส์และคีย์บอร์ดเพิ่มเติมเข้าไปด้วยนั่นเอง
แน่นอนว่าการขายแบบ Up-Selling และ Cross-Selling นี้ก็สามารถนำมาปรับใช้กับการทำแคมเปญ Retargeting ได้เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการส่งเสริมข้อเสนอที่เกี่ยวข้องหรือเป็นข้อเสนอเพิ่มเติมแบบพิเศษ จะเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายตัดสินใจเลือกซื้อสินค้าหรือบริการได้ดีขึ้น
3.อย่าทำ Retargeting บนช่องทางเดียว
อย่างที่บอกไปในข้างต้นว่าปัจจุบันมีแพลตฟอร์มที่หลากหลายในการทำแคมเปญ Retargeting ไม่ว่าจะเป็นแพลตฟอร์ม Search Engine อย่าง Google, Youtube, Bing หรือแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียอย่าง Facebook, Line, Twitter ฉะนั้นหากต้องการเพิ่มโอกาสในการสร้างยอดขายให้เพิ่มขึ้น เข้าถึงกลุ่มเป้าหมายให้ตรงมากขึ้น ก็อย่าลืมใช้ช่องทางอื่นๆ เพิ่มเติม แต่อย่างไรก็ตามการพิจารณาช่องทางในการทำ Retargeting ก็เป็นเรื่องสำคัญ อย่าลืมเลือกช่องทางให้เหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมายและประเภทของสินค้าหรือบริการของแบรนด์ เพราะหากแบรนด์เลือกช่องทางไม่ตรบกับกลุ่มเป้าหมาย การทำ Retargeting หลายช่องทางก็จะเปรียบได้กับการผลาญงบประมาณไปแบบเปล่าประโยชน์ทันที
4.ใช้ Audience Exclude เพื่อประหยัดงบประมาณ
จะมั่นใจได้อย่างไรว่ากลุ่มเป้าหมายที่ยิงโฆษณาไปจะมีแนวโน้มที่จะกลายเป็นลูกค้าได้จริง เพื่อให้การกำหนดกลุ่มเป้าหมายมีความชัดเจนมากขึ้นและหลีกเลี่ยงการใช้งบประมาณอย่างสูญเปล่า
ไม่ว่าจะทำ Retargeting บนแพลตฟอร์มไหนก็ตามอย่าลืมที่จะใช้ฟังก์ชัน Audience Exclusion ก็จะช่วยให้แคมเปญมีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยหลักการทำงานจะคล้ายกับฟังก์ชัน Negative Keyword อธิบายง่ายๆ คือ จะมีการจำกัดการเข้าถึงโฆษณาไปยังบางกลุ่มเป้าหมาย เพื่อช่วยให้โฆษณาสามารถแสดงไปยังกลุ่มเป้าหมายได้ตรงมากขึ้น เพราะโฆษณาถูกจำกัดการเข้าถึงจากผู้ที่ไม่ใช่กลุ่มเป้าหมายไปแล้วนั่นเอง
ตัวอย่างเช่น หากแคมเปญโฆษณาอยู่ในหมวดหมู่ของกลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ (Real Estate) ก็สามารถเลือกจำกัดการเข้าถึงโฆษณาตามกลุ่มผู้รับชมได้ว่าต้องการให้โฆษณาไปแสดงต่อลูกค้าประเภท Residental หรือ ลูกค้าประเภท Commercial (ในรายละเอียดทางกฎหมายมีความแตกต่างกัน) แน่นอนว่ายิ่งแคมเปญโฆษณาแสดงได้ตรงกลุ่มเป้าหมายมากขึ้นเท่าไหร่ โอกาสในการขายสินค้าและบริการก็จะสูงเพิ่มมากขึ้นเท่านั้น
5.ห้ามทำ Retargeting บ่อยจนเกินไป
กลยุทธ์ Retargeting ถือเป็นการกระตุ้นให้กลุ่มเป้าหมายสามารถตัดสินใจได้ง่ายขึ้น แต่การใช้กลยุทธ์นี้ถี่จนเกินไปอาจกลายเป็นการสร้างความรู้สึกที่ไม่ดีให้กับกลุ่มเป้าหมายได้ ดังนั้นหากตัดสินใจใช้กลยุทธ์ Retargeting โดยเจาะจงไปที่กลุ่มเป้าหมายใหม่ๆ อาจเป็นตัวเลือกที่ดีที่จะช่วยให้ธุรกิจสามารถรันแคมเปญ Retargeting และช่วยเพิ่มโอกาสการสร้างรายได้ให้กับธุรกิจมากขึ้น
แม้ว่าในตอนนี้การประกาศใช้ PDPA จะดูเป็นการเดินสวนทางกับการทำการตลาดแบบ Personalized Marketing หรือการทำการตลาดส่วนบุคคล แต่นักการตลาดไม่ต้องเป็นห่วงไป หากมีการวางแผนศึกษาการเก็บข้อมูลมาอย่างดี เพื่อไม่ให้ขัดกับหลักของ PDPA การทำการตลาดส่วนบุคคลนี้ก็ยังถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถเพิ่มยอดขายและรักษาความสัมพันธ์ระหว่างแบรนด์และกลุ่มเป้าหมายได้ดีเช่นเดิม
รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience
Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย
สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร.: 02-038-5055
อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com