สะกดคำผิด มีผลต่อ SEO มากแค่ไหน?

June 5, 2021Published By: Relevant Audience
Results Image

การสะกดคำผิดมีผลต่อการขึ้นอันดับ SEO มากหน่อยเพียงใด? ถือเป็นคำถามที่นักการตลาดหลายท่านคงสงสัยว่าการสะกดคำที่ผิดพลาดนั่นจะส่งผลอย่างไรกับการขึ้นอันดับบทความมากน้อยเพียงใดโดยเฉพาะการสะกดคำทับศัพท์ที่ถอดเสียงมาจากภาษาต่างประเทศที่ดูเหมือนจะมีการสะกดได้หลากหลายวิธี ในบทความนี้ Relevant Audience จะขอมาตอบคำถามเหล่าให้ทุกท่านเข้าใจ

เข้าใจเกี่ยวกับ SEO

การเขียนบทความเพื่อช่วย SEO นั่นเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยให้หน้าเว็บไซต์ขอคุณสามารถขึ้นไปติดหน้าแรกได้โดยง่าย ถ้าหากมีการเลือกใช้คำคีย์เวิร์ดที่ตรงกับพฤติกรรมการค้นหาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตามการเลือกใช้คีย์เวิร์ดก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะทำให้ Web Crawler ประมวลผลว่าบทความนี้เป็นบทความที่ดีหรือไม่ เพราะว่ายังมีปัจจัยเกี่ยวกับเนื้อหาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หากบทความที่นำเสนอเขียนออกมาไม่ดี จงใจใส่แต่คำคีย์เวิร์ดไม่เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ หรือใช้ไวยากรณ์ผิดจนทำให้ไม่สามารถอ่านได้รู้เรื่อง หรือมีความยากจนไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ ตลอดจนมีการสะกดผิดในจุดต่างๆ จนทำให้เสียอรรถรสในการอ่านซึ่งก็จะส่งผลต่อ Bounce Rate ที่สูง ก็จะทำให้ Web Crawler ประมวลผลว่าบทความนี้ไม่ดี ไม่เหมาะที่จะนำเสนอได้เช่นกัน

คำทับศัพท์เจ้าปัญหา สะกดอย่างไรให้ “ถูก”

จากที่กล่าวไปแล้วว่าการสะกดคำมีผลทำให้ติดหน้า SEO แต่อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัญหาของภาษาไทยคือการสะกดคำทับศัพท์ ซึ่งมีวิธีการสะกดแบบถูกต้องตามหลักภาษาไทย อย่างคำว่า Application ที่ราชบัณฑิตยสภาได้ทำการถอดเสียงทับศัพท์มาเป็น “แอปพลิเคชัน” ซึ่งคนไทยมักจะสะกดผิดเป็น แอพพลิเคชั่น แอปพลิเคชั่น หากยิ่งใช้ความหมายที่แปลไทยว่า “โปรแกรมประยุกต์” ก็เป็นคำที่ไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถดูตัวเลขการค้นหาจากทางกูเกิลได้ดังนี้

  • แอปพลิเคชัน มีสถิติการค้นหา 18,100 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 25,300,000 รายการ
  • แอพพลิเคชั่น มีสถิติการค้นหา 22,200 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 31,800,000 รายการ 
  • แอปพลิเคชั่น มีสถิติการค้นหา 2,900 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 32,300,000 รายการ 
  • โปรแกรมประยุกต์ มีสถิติการค้นหา 1,600 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 6,160,000 รายการ 

พอเกิดความสับสนแบบนี้ อาจทำให้หลายท่านไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกใช้การสะกดคำแบบไหนกันแน่เพื่อใช้ในคอนเทนต์ จะเลือกคำที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภา หรือคำที่คนทั่วไปนิยมใช้กันแน่? ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้น หากเป็นการเขียนงานสิ่งพิมพ์ทั่วไป การเลือกใช้วิธีการสะกดที่ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตยสภามักจะเป็นสิ่งที่บรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ให้ความสำคัญอย่างมาก แต่สำหรับการเขียน SEO นั่นมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากการเขียนลงสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะการเขียน SEO จะเป็นการเขียนเพื่อให้ Web Crawler เข้ามาอ่าน และรวมถึงเขียนให้ตรงกับพฤติกรรมการเสิร์ชของคนทั่วไป ซึ่งหากคำว่า “Application” ที่เป็นคีย์เวิร์ดหลักที่คุณอยากให้ติดบน SEO การเลือกใช้การสะกด “แอพพลิเคชั่น” ก็จะตรงกับพฤติกรรมการเสิร์ชของคนมากที่สุด 

เช่นกันหากบทความของเราเกี่ยวข้องกับ Application ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายรูปหรือแต่งรูป การเลือกใช้คีย์เวิร์ดว่า “แอปแต่งรูป” ก็อาจไม่ตรงกับความเข้าใจของคน เพราะเมื่อดูที่คำแนะนำที่ทางกูเกิลแนะนำแล้วรวมถึงจำนวนการค้นหา จะพบว่า “แอพแต่งรูป” ได้รับความนิยมกว่าอีกคำที่สะกดถูก

  • แอพแต่งรูป มีสถิติการค้นหา 40,500 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 91,900,000 ครั้ง
  • แอปแต่งรูป มีสถิติการค้นหา 3,600 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 72,300,000 ครั้ง

อย่างไรก็ตามการเลือกคำคีย์เวิร์ดที่ตรงกับการเสิร์ชของคนก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะการเลือกเช่นนั้นก็หมายความว่าเป็นการเลือกแข่งขันที่สูง ก็อาจส่งผลต่อการติดอันดับที่ยากขึ้น จึงทำให้บางครั้งการเลือกการสะกดคำคีย์เวิร์ดแบบอื่นหรือแบบที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภาก็อาจจะทำให้ง่ายต่อการติดอันดับมากกว่า

ว่าด้วยเรื่องของภาษาศาสตร์

นอกจากนี้ เมื่อกลับมามองในมุมของภาษาศาสตร์ ภาษาคือระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสื่อความหมาย มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเพื่อตกลงกันในกลุ่มชนว่าสิ่งของชิ้นนี้มีการสะกดคำและหมายความอย่าง และหนึ่งในสิ่งสำคัญคือภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา อย่างเช่นคำว่า ปรกติ และ ปกติ ที่มีความหมายว่า ธรรมดา สามารถสะกดได้ทั้ง 2 แบบ ซึ่งความแตกต่างของคำนี้มาจาก ปกติ เป็นภาษาบาลี สามารถอ่านได้ทั้ง ปะ-กะ-ติ และ ปก-กะ-ติ ในขณะที่ ปรกติ เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า ปรก-กะ-ติ ซึ่งทั้งคำนี้โดยทั่วไปแล้วนั้นคนทั่วไปมักจะใช้คำว่า “ปกติ” แพร่หลายกว่า “ปรกติ” ที่มักใช้กันในจดหมายราชการและในหน่วยงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งการอนุโลมให้ใช้ได้ทั้งการสะกดทั้ง 2 แบบ แสดงถึงความลื่นไหลทางภาษาและกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงได้ 

นอกจากการสะกดคำแล้ว การเปลี่ยนแปลงของความหมายก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติของภาษา อย่างเช่นคำว่า “นก” ที่เมื่อ 3 ปีก่อนมีความหมายว่า ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุมร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ในขณะที่ปัจจุบันคำว่านกของวัยรุ่น มีความหมายว่าอดหรือหลุดมือ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความหมายจากคำนามกลายเป็นคำกริยา ซึ่งหากความหมายบริบทนี้ถูกใช้ต่อไปจนระยะเวลาหนึ่งก็อาจทำให้ในอนาคตราชบัณฑิตก็อาจจะนำความหมายว่าอดไปใช้ได้

สุดท้ายนี้ การเลือกใช้คำคีย์เวิร์ดในการทำ SEO นั่นและการเขียนบทความก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่ง บางครั้งการเลือกคำที่สะกดผิด แต่ตรงกับพฤติกรรมการค้นหาถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำ SEO ในทางกลับกันการสะกดผิด ใช้ไวยากรณ์ผิด พยายามใส่คำคีย์เวิร์ดจนทำให้เนื้อหาอ่านไม่รู้เรื่องจะช่วยส่งผลเสียต่อ SEO เหมือนกัน หากท่านใดต้องเข้าใจกับ SEO ก็สามารถติดตามอ่านบทความของ Relevant Audience ได้  รวมถึงหากใครสนใจใช้บริการ SEO ให้กับเว็บไซต์ของตัวเอง สามารถติดต่อ Relevant Audience ได้เอเจนซี่ผู้ให้บริการด้านการตลาดดิจิทัลชั้นนำได้ทันที เพราะเรามีทีมงานคุณภาพและผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและให้บริการต่างๆ อย่างโปร่งใส มุ่งเน้นการสร้างผลลัพธ์ให้กับลูกค้าทุกท่าน

Related Articles

If you enjoyed reading this article, you might like these too.

การปรับแต่ง SEO แบบโปรแกรม: เพิ่มการมองเห็นออนไลน์ของคุณ
เอสอีโอ (Search Engine Optimization)

May 6, 2025

การปรับแต่ง SEO แบบโปรแกรม: เพิ่มการมองเห็นออนไลน์ของคุณ
เรียนรู้ว่าการปรับแต่ง SEO แบบโปรแกรมสามารถช่วยให้ธุรกิจของคุณเติบโตทางออนไลน์ได้อย่างไร ค้นพบเคล็ดลับและกลยุทธ์ในการปรับปรุงอันดับการค้นหาและเพิ่มการเข้าชมเว็บไซต์...
คู่มือขั้นสุดยอดสำหรับการทดสอบ A/B เพื่อตัดสินใจที่ดีขึ้น
การตลาดดิจิตอล

May 6, 2025

คู่มือขั้นสุดยอดสำหรับการทดสอบ A/B เพื่อตัดสินใจที่ดีขึ้น
เรียนรู้วิธีใช้การทดสอบ A/B เพื่อตัดสินใจบนพื้นฐานของข้อมูลและปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ของคุณด้วยคู่มือที่ครอบคลุมนี้...
Google’s New EEAT SEO Guidelines for Better Search Rankings
SEO

May 6, 2025

Google’s New EEAT SEO Guidelines for Better Search Rankings
Learn how Google’s updated EEAT framework impacts SEO. Boost your site’s expertise, experience, authority, and trustworthiness for higher rankings....
AI Overview คืออะไรและผลกระทบต่อ SEO
เอสอีโอ (Search Engine Optimization)

May 2, 2025

AI Overview คืออะไรและผลกระทบต่อ SEO
ทำความเข้าใจ AI Overview ของ Google และวิธีปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงใหม่ในกลยุทธ์ SEO อย่างมีประสิทธิภาพ....