การสะกดคำผิดมีผลต่อการขึ้นอันดับ SEO มากหน่อยเพียงใด? ถือเป็นคำถามที่นักการตลาดหลายท่านคงสงสัยว่าการสะกดคำที่ผิดพลาดนั่นจะส่งผลอย่างไรกับการขึ้นอันดับบทความมากน้อยเพียงใดโดยเฉพาะการสะกดคำทับศัพท์ที่ถอดเสียงมาจากภาษาต่างประเทศที่ดูเหมือนจะมีการสะกดได้หลากหลายวิธี ในบทความนี้ Relevant Audience จะขอมาตอบคำถามเหล่าให้ทุกท่านเข้าใจ
เข้าใจเกี่ยวกับ SEO
การเขียนบทความเพื่อช่วย SEO นั่นเป็นวิธีสำคัญที่ช่วยให้หน้าเว็บไซต์ขอคุณสามารถขึ้นไปติดหน้าแรกได้โดยง่าย ถ้าหากมีการเลือกใช้คำคีย์เวิร์ดที่ตรงกับพฤติกรรมการค้นหาของคนทั่วไป อย่างไรก็ตามการเลือกใช้คีย์เวิร์ดก็ไม่ได้เป็นปัจจัยเดียวที่จะทำให้ Web Crawler ประมวลผลว่าบทความนี้เป็นบทความที่ดีหรือไม่ เพราะว่ายังมีปัจจัยเกี่ยวกับเนื้อหาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย เช่น หากบทความที่นำเสนอเขียนออกมาไม่ดี จงใจใส่แต่คำคีย์เวิร์ดไม่เข้าใจเนื้อหาทั้งหมดได้ หรือใช้ไวยากรณ์ผิดจนทำให้ไม่สามารถอ่านได้รู้เรื่อง หรือมีความยากจนไม่สามารถอ่านเข้าใจได้ ตลอดจนมีการสะกดผิดในจุดต่างๆ จนทำให้เสียอรรถรสในการอ่านซึ่งก็จะส่งผลต่อ Bounce Rate ที่สูง ก็จะทำให้ Web Crawler ประมวลผลว่าบทความนี้ไม่ดี ไม่เหมาะที่จะนำเสนอได้เช่นกัน
คำทับศัพท์เจ้าปัญหา สะกดอย่างไรให้ “ถูก”
จากที่กล่าวไปแล้วว่าการสะกดคำมีผลทำให้ติดหน้า SEO แต่อย่างไรก็ตามหนึ่งในปัญหาของภาษาไทยคือการสะกดคำทับศัพท์ ซึ่งมีวิธีการสะกดแบบถูกต้องตามหลักภาษาไทย อย่างคำว่า Application ที่ราชบัณฑิตยสภาได้ทำการถอดเสียงทับศัพท์มาเป็น “แอปพลิเคชัน” ซึ่งคนไทยมักจะสะกดผิดเป็น แอพพลิเคชั่น แอปพลิเคชั่น หากยิ่งใช้ความหมายที่แปลไทยว่า “โปรแกรมประยุกต์” ก็เป็นคำที่ไม่ได้ใช้อย่างแพร่หลาย ซึ่งสามารถดูตัวเลขการค้นหาจากทางกูเกิลได้ดังนี้
- แอปพลิเคชัน มีสถิติการค้นหา 18,100 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 25,300,000 รายการ
- แอพพลิเคชั่น มีสถิติการค้นหา 22,200 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 31,800,000 รายการ
- แอปพลิเคชั่น มีสถิติการค้นหา 2,900 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 32,300,000 รายการ
- โปรแกรมประยุกต์ มีสถิติการค้นหา 1,600 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 6,160,000 รายการ
พอเกิดความสับสนแบบนี้ อาจทำให้หลายท่านไม่แน่ใจว่าควรจะเลือกใช้การสะกดคำแบบไหนกันแน่เพื่อใช้ในคอนเทนต์ จะเลือกคำที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภา หรือคำที่คนทั่วไปนิยมใช้กันแน่? ซึ่งโดยทั่วไปแล้วนั้น หากเป็นการเขียนงานสิ่งพิมพ์ทั่วไป การเลือกใช้วิธีการสะกดที่ถูกต้องตามหลักราชบัณฑิตยสภามักจะเป็นสิ่งที่บรรณาธิการสื่อสิ่งพิมพ์ให้ความสำคัญอย่างมาก แต่สำหรับการเขียน SEO นั่นมีจุดประสงค์ที่แตกต่างจากการเขียนลงสื่อสิ่งพิมพ์ เพราะการเขียน SEO จะเป็นการเขียนเพื่อให้ Web Crawler เข้ามาอ่าน และรวมถึงเขียนให้ตรงกับพฤติกรรมการเสิร์ชของคนทั่วไป ซึ่งหากคำว่า “Application” ที่เป็นคีย์เวิร์ดหลักที่คุณอยากให้ติดบน SEO การเลือกใช้การสะกด “แอพพลิเคชั่น” ก็จะตรงกับพฤติกรรมการเสิร์ชของคนมากที่สุด
เช่นกันหากบทความของเราเกี่ยวข้องกับ Application ที่เกี่ยวข้องกับการถ่ายรูปหรือแต่งรูป การเลือกใช้คีย์เวิร์ดว่า “แอปแต่งรูป” ก็อาจไม่ตรงกับความเข้าใจของคน เพราะเมื่อดูที่คำแนะนำที่ทางกูเกิลแนะนำแล้วรวมถึงจำนวนการค้นหา จะพบว่า “แอพแต่งรูป” ได้รับความนิยมกว่าอีกคำที่สะกดถูก
- แอพแต่งรูป มีสถิติการค้นหา 40,500 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 91,900,000 ครั้ง
- แอปแต่งรูป มีสถิติการค้นหา 3,600 ครั้ง/เดือน ผลลัพธ์ 72,300,000 ครั้ง
อย่างไรก็ตามการเลือกคำคีย์เวิร์ดที่ตรงกับการเสิร์ชของคนก็อาจไม่ใช่ตัวเลือกที่ดีที่สุดเสมอไป เพราะการเลือกเช่นนั้นก็หมายความว่าเป็นการเลือกแข่งขันที่สูง ก็อาจส่งผลต่อการติดอันดับที่ยากขึ้น จึงทำให้บางครั้งการเลือกการสะกดคำคีย์เวิร์ดแบบอื่นหรือแบบที่ถูกต้องตามราชบัณฑิตยสภาก็อาจจะทำให้ง่ายต่อการติดอันดับมากกว่า
ว่าด้วยเรื่องของภาษาศาสตร์
นอกจากนี้ เมื่อกลับมามองในมุมของภาษาศาสตร์ ภาษาคือระบบสัญลักษณ์ที่มนุษย์สร้างขึ้นเพื่อสื่อความหมาย มีกฎเกณฑ์ที่แน่นอนเพื่อตกลงกันในกลุ่มชนว่าสิ่งของชิ้นนี้มีการสะกดคำและหมายความอย่าง และหนึ่งในสิ่งสำคัญคือภาษามีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา อย่างเช่นคำว่า ปรกติ และ ปกติ ที่มีความหมายว่า ธรรมดา สามารถสะกดได้ทั้ง 2 แบบ ซึ่งความแตกต่างของคำนี้มาจาก ปกติ เป็นภาษาบาลี สามารถอ่านได้ทั้ง ปะ-กะ-ติ และ ปก-กะ-ติ ในขณะที่ ปรกติ เป็นภาษาสันสกฤต อ่านว่า ปรก-กะ-ติ ซึ่งทั้งคำนี้โดยทั่วไปแล้วนั้นคนทั่วไปมักจะใช้คำว่า “ปกติ” แพร่หลายกว่า “ปรกติ” ที่มักใช้กันในจดหมายราชการและในหน่วยงานราชบัณฑิตยสภา ซึ่งการอนุโลมให้ใช้ได้ทั้งการสะกดทั้ง 2 แบบ แสดงถึงความลื่นไหลทางภาษาและกฎเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลงได้
นอกจากการสะกดคำแล้ว การเปลี่ยนแปลงของความหมายก็เป็นอีกหนึ่งคุณสมบัติของภาษา อย่างเช่นคำว่า “นก” ที่เมื่อ 3 ปีก่อนมีความหมายว่า ชื่อสัตว์มีกระดูกสันหลังเลือดอุ่น มี ๒ เท้า ๒ ปีก และมีขนปกคลุมร่างกาย ออกลูกเป็นไข่ก่อนแล้วจึงฟักเป็นตัว ในขณะที่ปัจจุบันคำว่านกของวัยรุ่น มีความหมายว่าอดหรือหลุดมือ ซึ่งจะเห็นได้ว่าความหมายจากคำนามกลายเป็นคำกริยา ซึ่งหากความหมายบริบทนี้ถูกใช้ต่อไปจนระยะเวลาหนึ่งก็อาจทำให้ในอนาคตราชบัณฑิตก็อาจจะนำความหมายว่าอดไปใช้ได้
สุดท้ายนี้ การเลือกใช้คำคีย์เวิร์ดในการทำ SEO นั่นและการเขียนบทความก็เป็นอีกศาสตร์หนึ่ง บางครั้งการเลือกคำที่สะกดผิด แต่ตรงกับพฤติกรรมการค้นหาถือเป็นตัวเลือกที่ดีในการทำ SEO ในทางกลับกันการสะกดผิด ใช้ไวยากรณ์ผิด พยายามใส่คำคีย์เวิร์ดจนทำให้เนื้อหาอ่านไม่รู้เรื่องจะช่วยส่งผลเสียต่อ SEO เหมือนกัน หากท่านใดต้องเข้าใจกับ SEO ก็สามารถติดตามอ่านบทความของ Relevant Audience ได้ รวมถึงหากใครสนใจใช้บริการ SEO ให้กับเว็บไซต์ของตัวเอง สามารถติดต่อ Relevant Audience ได้เอเจนซี่ผู้ให้บริการด้านการตลาดดิจิทัลชั้นนำได้ทันที เพราะเรามีทีมงานคุณภาพและผู้เชี่ยวชาญที่พร้อมให้คำปรึกษาและให้บริการต่างๆ อย่างโปร่งใส มุ่งเน้นการสร้างผลลัพธ์ให้กับลูกค้าทุกท่าน