7 เคล็ดลับสำหรับครีเอเตอร์บน LinkedIn อ่านจบนำไปใช้ได้ทันที

ปัจจุบันแพลตฟอร์ม LinkedIn มีจำนวนผู้ใช้งานและบริษัทต่างๆ รวมกันมากกว่า 50 ล้านบัญชี จึงไม่ใช่เรื่องแปลกที่หลายบริษัทจะเริ่มหันมาทำการตลาดบนแพลตฟอร์มนี้อย่างจริงจังมากขึ้น  เพราะถือว่าเป็นอีกหนึ่งช่องทางที่สามารถขับเคลื่อนแบรนด์ให้เติบโตอย่างรวดเร็ว

แน่นอนว่าแบรนด์และนักการตลาดย่อมต้องการเผยแพร่เนื้อหาคอนเทนต์ที่สามารถสร้างประสบการณ์ที่ยอดเยี่ยมให้กับผู้ใช้งานทั่วไปเพื่อเปิดโอกาสให้กลุ่มเป้าหมายสามารถเข้าถึงแบรนด์ได้มากขึ้น ฉะนั้นในบทความนี้จึงรวบรวม 10 เคล็ดลับที่จะเป็นตัวช่วยในการขัดเกลาการสร้างสรรค์ไอเดียบนแพลตฟอร์ม LinkedIn 

1. รู้จักใช้ Hashtags 

ใครที่เล่นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียต่างๆ อย่างเฟสบุ๊ก อินสตาแกรม ทวิตเตอร์ คงคุ้นเคยกับการใช้แฮชแท็กกันดีอยู่แล้ว โดยการใช้แฮชแท็กนั้นมีประโยชน์มากมายสำหรับการทำคอนเทนต์ไม่ว่าจะเป็นการสร้าง Engagement ระหว่างผู้ติดตามหรือผู้ใช้งานทั่วไปที่ต้องการค้นหาคำต่างๆ หรือหากเป็นคอนเทนต์ที่สร้างโดยแบรนด์ก็จะเป็นการช่วยสร้าง Brand Awareness ให้กับธุรกิจ หรือแม้แต่การใช้เพื่อสนับสนุนแคมเปญ หรือการเล่นกับกระแสต่างๆ บนโซเชียล ก็จะช่วยให้แบรนด์เป็นที่พูดถึงมากยิ่งขึ้น

2. รู้จักเล่นกับกระแส

บน LinkedIn มีฟีเจอร์ที่เรียกว่า LinkedIn’s Trending โดยจะเป็นฟีเจอร์ที่รวบรวมข่าวสารต่างๆ ที่เกิดขึ้นแบบเรียลไทม์ ทำให้ทราบได้ว่าในตอนนี้มีเรื่องไหนหรือเทรนด์อะไรที่กำลังเป็นที่พูดถึง จากนั้นให้ลองนำมาปรับใช้กับคอนเทนต์

แต่อย่าลืมชั่งน้ำหนักสำหรับกระแสที่อาจสร้างความขัดแย้งหรือก่อให้เกิดความรู้สึกเชิงลบ อย่างเช่นประเด็นที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเมือง หรือเรื่องละเอียดอ่อนอื่นๆ เป็นต้น

3. ลองทำ A/B Testing

การทำ A/B Testing กำลังเป็นที่นิยมกับแนวทาง Content Marketing นักการตลาดสาย SEO หลายคนอาจจะรู้จักคำๆ นี้มาจากกระบวนการทดสอบรูปแบบขององค์ประกอบต่างๆ บนหน้าเว็บไซต์เพื่อที่จะหารูปแบบที่สามารถให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด โดยเป็นการสร้างรูปแบบขึ้นมามากกว่า 1 กลุ่มเพื่อนำมาเปรียบเทียบกัน 

ทีนี้สำหรับการนำเทคนิค A/B Testing มาใช้สำหรับแนวทางการทำ Content Marketing บนแพลตฟอร์ม LinkedIn ก็ไม่ได้มีอะไรที่แตกต่างมากนัก เพียงแค่ลองสร้างรูปแบบขึ้นมาให้มีความหลากหลายอย่างการผสมผสานโพสต์ด้วยรูปภาพ วิดีโอ และข้อความ จากนั้นให้ลองทดสอบดูว่ารูปแบบใดที่สามารถให้ผลลัพธ์ได้ดีที่สุด

4. คุณภาพเหนือกว่าปริมาณ

หลายคนมักคิดว่าการทำคอนเทนต์จะต้องเน้นที่ปริมาณ คือง่ายๆ เอาเยอะไว้ก่อนถึงจะดี จริงอยู่ที่ปริมาณของคอนเทนต์นั้นก็มีความสำคัญ แต่หากคอนเทนต์ที่ถูกผลิตซ้ำขึ้นมาเป็นจำนวนมากเป็นคอนเทนต์ประเภทเดียวกัน หรือคล้ายกับที่คนทั่วไปทำกัน นอกจากคอนเทนต์เหล่านั้นจะไม่ได้รับความสนใจแล้วยังทำให้เสียทั้งเงินและเวลาไปเปล่าประโยชน์อีกด้วย

ดังนั้นนอกจากการเน้นไปที่จำนวนแล้ว การคำนึงถึงคุณภาพของคอนเทนต์ก็เป็นเรื่องสำคัญมากๆ ไม่ว่าคอนเทนต์นั้นจะถูกสร้างสรรค์บนแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียใดก็ตาม ทีนี้หลายคนอาจตั้งคำถามว่าแล้ว ”คอนเทนต์คุณภาพ” มีลักษณะอย่างไร แบบไหนถึงจะเรียกว่าเป็นคอนเทนต์คุณภาพ หากลองเปิดเว็บไซต์กูเกิล จะพบว่ากูเกิลมีการนิยามคอนเทนต์คุณภาพไว้ว่า

  • จะต้องมีประโยชน์และให้ข้อมูลแก่ผู้อ่าน
  • จะต้องมีประโยชน์มากกว่าแหล่งข้อมูลอื่นๆ ทั่วไป
  • จะต้องมีความน่าเชื่อถือ อย่างการมีอ้างอิงแหล่งที่มา
  • จะต้องเป็น Original Content คือห้ามซ้ำหรือไปคัดลอกคอนเทนต์ที่ไหนมา
  • จะต้องสร้างแรงดึงดูดให้ผู้อ่านรู้สึกสนใจ อย่างการใช้รูปภาพประกอบ หรือใช้ภาษาอย่างถูกต้อง

ใครที่กำลังคิดสร้างคอนเทนต์อยู่ก็ลองตั้งคำถามดูว่าคอนเทนต์ที่กำลังจะกดโพสต์นั้นตรงตามกับ 5 ข้อด้านบนนี้แล้วหรือยัง 

5. สร้างคอนเทนต์ที่เน้นความจริงใจ

ด้วยพฤติกรรมของผู้บริโภคในปัจจุบันที่ต้องการเนื้อหาที่ดูมีความจริงใจมากขึ้น การสร้างสรรค์คอนเทนต์ในปัจจุบันจึงต้องคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นพิเศษ การให้ความสำคัญและเน้นไปที่การทำให้ผู้อ่านมีอารมณ์ร่วมไปกับเนื้อหานั้นๆ ได้ จะช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับแบรนด์ได้ดีมากยิ่งขึ้น พูดง่ายๆ ว่าการถ่ายทอดเนื้อหาที่เป็นความจริงแบบตรงไปตรงมา ไม่มีการบิดเบือนเนื้อหาจะช่วยให้แบรนด์สามารถส่งเสริมให้คอนเทนต์มีประสิทธิภาพที่ดีมากยิ่งขึ้น พร้อมกับจะช่วยให้ผู้อ่านรับรู้ได้ถึงความจริงใจของแบรนด์ 

6. จุดประกายการสนทนา

อย่างที่รู้กันดีว่า LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มโซเชียลมีเดียที่รวบรวมบุคลากรที่เกี่ยวข้องกับแวดวงธุรกิจทั่วโลก การเริ่มต้นด้วยการสร้างบทสนทนาที่ยาวไม่รู้จบจะเป็นการเชื่อมต่อระหว่างแบรนด์และผู้คนทั่วไปอย่างชาญฉลาด 

ลองเริ่มต้นด้วยการตั้งคำถามกับผู้ติดตามเพื่อกระตุ้นให้เกิดการแบ่งปันข้อคิดเห็นต่างๆ หรือจะใช้วิธีอย่างการตั้งโพลหรือเชิญชวน Influencer ที่มีความน่าสนใจสำหรับผู้ติดตามก็จะช่วยสร้าง Engagement ให้เพิ่มมากยิ่งขึ้น

7. สร้างคอนเทนต์ด้วยความสม่ำเสมอ

แม้ว่าคุณภาพของคอนเทนต์จะมีความสำคัญ แต่การโพสต์คอนเทนต์ลงบนแพลตฟอร์มอย่างสม่ำเสมอก็เป็นเรื่องที่ห้ามละเลยเช่นกัน อย่าลืมว่า LinkedIn เป็นแพลตฟอร์มที่มีผู้ใช้งานส่วนใหญ่อยู่ในแวดวงธุรกิจ ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากผู้ใช้งานโดยส่วนมากมักจะมีความต้องการในการติดตามข่าวสารธุรกิจอยู่เป็นประจำ ดังนั้นหากแบรนด์หรือนักการตลาดมีการอัปเดตข่าวสาร หรือกล่าวถึงเรื่องที่ผู้ติดตามมีความสนใจอยู่เป็นประจำ ก็จะมีโอกาสได้รับความสนใจและเป็นที่น่าเชื่อถือมากขึ้น ข้อแนะนำคือลองกำหนดตารางในการโพสต์คอนเทนต์ ให้เกิดเป็น Routine (กิจวัตร) อย่างสม่ำเสมอ

รับปรึกษาการทำ Digital Marketing ที่ Relevant Audience

Relevant Audience บริษัทที่ให้บริการเกี่ยวกับ Digital Performance Marketing Agency โดยมีเป้าหมายหลักเพื่อให้บริการด้านการตลาดดิจิทัล ให้ธุรกิจเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายที่กำลังมองหาผลิตภัณฑ์หรือบริการในเวลา สถานที่ และอุปกรณ์ที่เหมาะสม ผ่านช่องทางออนไลน์ต่างๆ บริการของเราครอบคลุมทั้ง Search Marketing, Social Media Ads, Search Ads และ SEO (Search Engine Optimization) ไปจนถึง Influencer Marketing และยังเป็นส่วนหนึ่งในโปรแกรม Google Partners อีกด้วย

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม 

โทร.: 02-038-5055 

อีเมล: info@relevantaudience.com เว็บไซต์: www.relevantaudience.com

Share on facebook
Share on twitter
Share on linkedin
Share on pinterest
Share on tumblr

Related Articles

เมนู